Site icon บจก.ณรงค์ไมโครสปัน | ไมโครไพล์ | micropile แบบครบวงจร

วิธีการสำรวจดินเพื่อใช้ในการออกแบบฐานราก

ในการสำรวจดินเพื่อการออกแบบฐานรากนั้นสามารถกระทำได้ทั้งการเก็บตัวอย่างขึ้นมาทดสอบในห้องปฏิบัติการ และการทดสอบในสนาม ซึ่งรูปแบบการเจาะสำรวจดินแสดงดังรูปที่ 1 ข้อแตกต่างของการทดสอบทั้งสองวิธีนี้คือ วิธีการเก็บตัวอย่างจะต้องเจาะหรือขุดจนถึงระดับที่ต้องการเพื่อเก็บตัวอย่างขึ้นมา ส่วนการทดสอบในสนามนั้นไม่ต้องเก็บตัวอย่างขึ้นมาทดสอบ สำหรับรายละเอียดจะกล่าวในหัวข้อต่อไป

รูปที่ 1 รูปแบบการสำรวจดิน
รูปที่ 2 การสำรวจดิน ซึ่งรวมถึงการศึกษาเบื้องต้น การเจาะเก็บตัวอย่าง การทดสอบในห้องปฏิบัติการ การทดสอบในสนาม

วิธีการขุด เจาะเพื่อเก็บตัวอย่างดิน
     ในการเก็บตัวอย่างซึ่งอยู่ลึกลงไปใต้ระดับผิวดินนั้น จำเป็นจะต้องทำการขุดหรือเจาะลงไปจนถึงความลึกที่ต้องการแล้วเก็บตัวอย่างขึ้นมาเพื่อนำไปจำแนกดิน หรือทดสอบเพื่อหากำลังของดิน สำหรับวิธีในการเก็บตัวอย่างนั้นขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินและชนิดของฐานรากที่ต้องการ ซึ่งลักษณะของการเก็บและทดสอบตัวอย่างดินแสดงดังรูปที่ 2 โดยถ้าฐานรากมีความลึกไม่มากอาจใช้วิธีขุดบ่อสำรวจโดยใช้แรงงานคนหรือเครื่องจักร แต่ถ้าชั้นดินที่ต้องการสำรวจอยู่ในระดับลึกมาก จำเป็นจะต้องใช้วิธีการเจาะซึ่งวิธีที่ใช้ในการเจาะขึ้นอยู่กับชนิดของชั้นดินและลักษณะของตัวอย่างที่ต้องการ วิธีทั่วไปที่ใช้ในการเจาะสำรวจดินแสดงดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 วิธีทั่วไปที่ใช้ในการเจาะสำรวจดิน (Teng 1984)

สำหรับวิธีเจาะที่นิยมใช้คือวิธีเจาะแบบฉีดล้าง

การเจาะหลุมเจาะโดยการเจาะแบบฉีดล้าง

การเก็บตัวอย่างดิน
     หลังจากเจาะหลุมเจาะถึงระดับที่ต้องการแล้ว จะทำการเก็บตัวอย่างที่ระดับนั้นๆ ในการเก็บตัวอย่างจะทำการเก็บเป็นช่วงๆ โดยปกติแล้วจะทำการเก็บตัวอย่างทุกๆ 1.50 เมตร สำหรับวิธีที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างจะขึ้นอยู่กับชนิดของดิน ลักษณะของดินที่ต้องการเก็บว่าต้องการตัวอย่างดินแบบคงสภาพเดิม (Undisturbed sample) หรือดินแบบไม่คงสภาพเดิม (Disturbed sample) ซึ่งวิธีทั่วไปที่ใช้เก็บตัวอย่างดินและหินจากหลุมเจาะทดสอบแสดงอยูในตารางที่ 2

ตารางที่ 2 วิธีที่ใช้เก็บตัวอย่างดินจากหลุมเจาะ (Teng 1984)

การถูกรบกวนของตัวอย่าง (Sample disturbance)


     สำหรับดินบางชนิดถ้าถูกแรงกระทำจะมีผลต่อกำลังของดินอย่างมาก รูปที่ 3 แสดงให้เห็นว่าเมื่อตัวอย่างไม่ถูกรบกวนจะสามารถรับน้ำหนักกดทับได้ 11 กิโลกรัม แต่เมื่อถูกรบกวนแล้วจะไม่สามารถรับน้ำหนักกดทับได้เลย ดังจะเห็นได้จากการที่ดินกลายเป็นของเหลวหนืดที่ไหลได้

รูปที่ 3 ผลของการถูกรบกวนของตัวอย่างดินเหนียวที่มีความไวตัวสูง (Powrie 1996)

วิธีการเก็บตัวอย่างที่ถูกรบกวนน้อยมาก เป็นวิธีการขุดเปิดหน้าดินจนถึงระดับที่ต้องการเก็บตัวอย่างแล้วตัดแต่งตัวอย่างแบบลูกบาศก์โดยให้มีการรบกวนดินน้อยที่สุด

วิธีการเก็บตัวอย่างแบบถูกรบกวนน้อยโดยการขุดเปิดหน้าดิน
วิธีการสำรวจดินเพื่อใช้ในการออกแบบฐานราก
Exit mobile version