หลักการเบื้องต้นในการอ่านผลการเจาะสำรวจดิน

1.     การพิจารณาค่าจากการทดสอบ
Atterberg Limits
ซึ่งการพิจารณาดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจทั้งในขั้นตอนของการออกแบบ
และการควบคุมงานก่อสร้างในส่วนของระบบฐานราก เช่นจะใช้เสาเข็มระบบใด
(เสาเข็มตอกหรือเสาเข็มเจาะ) ปลอกเหล็กกันดินพังควรจะฝังลึกเท่าไร จะต้องใช้ของเหลวช่วยป้องกันการพังของผนังหลุมเจาะหรือไม่
เหล่านี้เป็นต้น
     – หากดินมีค่า water content (v) เข้าใกล้ค่า LL. หรือมีค่ามากกว่า
หมายถึงดินที่ระดับความลึกนั้นมีสภาพอ่อน มีกำลังรับแรงเฉือนได้ต่ำแต่จะมีค่าทรุดตัวสูง
     – หากดินมีค่า water content (v) เข้าใกล้ค่า PL. หมายถึงดินที่ระดับความลึกนั้นมีสภาพแข็ง
มีกำลังรับแรงเฉือนได้สูงแต่จะมีค่าทรุดตัวน้อย
     – หากดินมีค่า Plasticity index (P.I. = LL. – PL.) มีค่าสูง
หมายถึงดินที่ระดับความลึกนั้นมีกำลังรับแรงเฉือนได้ต่ำ แต่จะมีค่าทรุดตัวและบวมตัวสูง

2.     การพิจารณาค่าจากผลการทดสอบ
SPT (N Blows/ft.)
ในที่นี้หมายถึงค่า
N ที่ผ่านการปรับแก้ผลอันเนื่องมาจากอุปกรณ์ที่ใช้
(พลังงานที่ใช้ตอก) และผลของแรงเนื่องดินกดทับ (Overburden) เรียบร้อยแล้ว
ซึ่งความสำพันธ์ดังกล่าวเป็นค่าโดยประมาณ
     – หากเป็นดินประเภทดินที่มีความเชื่อมแน่น
เช่น ดินเหนียว ถ้าค่า N ≥ 15 หมายถึงดินที่ระดับความลึกนั้นเป็นดินเหนียวแข็ง
     –
หากเป็นดินประเภทดินที่ไม่มีความเชื่อมแน่น เช่น ดินทราย ถ้าค่า N ≥ 30 หมายถึงดินที่ระดับความลึกนั้นเป็นดินทรายแข็งซึ่งค่าดังกล่าวสามารถนำมาใช้เป็นตัวช่วยตัดสินใจว่าเมื่อไหร่จึงจะใส่หรือไม่ใส่หัวชูเหล็กหล่อที่ปลายเสาเข็ม
ซึ่งโดยทั่วไปหากค่า N ≥ 30 ก็ควรที่จะใส่หัวชู
แต่เนื่องจากหัวชูมีหลายขนดคือ เล็ก กลาง และใหญ่
ดั้งนั้นจะเลือกใช้ขนาดเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับหน่วยแรงแบกทานที่จะเกิดที่หัวชูนั้นๆ
ซึ่งต้องมีการคำนวณ
แต่โดยทั่วไปมักให้เป็นหน้าที่ของโรงงานผู้ผลิตเสาเข็มที่จะใส่ให้
เพียงแต่ให้เราระบุขนาดของเสาเข็มและน้ำหนักบรรทุกออกแบบของเสาเข็ม

3.     พิจารณาค่า
qu และ Su
     โดย qu หมายถึงค่า
Unconfined compressive
strength ของดินที่มีความเชื่อมแน่น
ที่ได้จากการกดทดสอบดินตัวอย่างจนเกิดการวิบัติเนื่องจากการเฉือน โดยวิธีการทดสอบ Unconfined compressive test (P3
= 0) ค่าดังกล่าวนำไปใช้หาค่าของ Cohesion © ได้โดย
c = qu/2
     Su หมายถึงค่า Unconfined shear strength หรือกำลังรับแรงเฉือนของดิน
แต่ในกรณีของดินเหนียวจะมีค่าเท่ากับ c (เพราะค่า Æ = 0) ค่าดังกล่าวโดยประมาณหาใด้จาก
N/5 ตันต่อตารางเมตร
    
ส่วนการที่จะนำผลการทดสอบที่ได้จากการเจาะสำรวจดินไปใช้ในการออกแบบฐานรากนั้นไม่ว่าจะเป็นค่ากำลังรับแรงแบกทานของดินสำหรับออกแบบฐานรากแบบฐานแผ่
และค่าแรงยึดเหนี่ยวที่ผิว ค่าแรงเสียดทานที่ผิว ค่าแรงแบกทานที่ปลายสำหรับออกแบบฐานรากเสาเข็ม
(โดยทั่วไปในส่วนนี้ผู้ทำการเจาะสำรวจจะทำรายงานระบุขนาดและความยาวในการรับน้ำหนักบรรทุกที่ค่าต่างๆ
มาให้เลือกใช้) ต้องเป็นผลที่ได้จากรายงานการเจาะสำรวจและข้อแนะนำของผู้ทำการเจาะสำรวจเป็นสำคัญ)

รูปที่ 1 ตาราง Soil boring test
รูปที่ 2 ตาราง Soil boring test
หลักการเบื้องต้นในการอ่านผลการเจาะสำรวจดิน

Leave a Reply

Scroll to top