ปัญหาทางวิศวกรรมที่ต้องใช้ความรู้ทางปฐพีกลศาสตร์

ไมโครไพล์ฐานราก

ในการวิเคราะห์ออกแบบและก่อสร้างทางวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับดิน วิศวกรจำเป็นจะต้องมีความรู้และเข้าใจในปฐพีกลศาสตร์เป็นอย่างดี เนื่องจากดินเป็นวัสดุธรรมชาติที่แตกต่างจากวัสดุก่อสร้างชนิดอื่นๆ ที่สามารถสร้างขึ้นมาให้มีคุณสมบัติตามต้องการได้ อีกทั้งดินมีคุณสมบัติที่ขึ้นกับชนิดขององค์ประกอบ ขนาดคละ ปริมาณน้ำในดิน ประวิติของหน่วยแรงที่เคยเกิดขึ้นในเนื้อดิน เป็นต้น ในอดีตที่ผ่านมาจึงมักจะมีปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากวิศวกรไม่ได้ตระหนักถึงความจำเป็นของปฐพีกลศาสตร์ ตัวอย่างปัญหาที่มักจะพบได้แก่ การวิบัติของลาดดิน การวิบัติของกำแพงกันดิน การที่ฐานรากรับน้ำหนักบรรทุกต่ำกว่าที่ต้องการ การทรุดตัวของฐานรากที่ส่งผลต่อความชำรุดของอาคาร เป็นต้น ซึ่งเราอาจจะพบเห็นได้ตามสื่อต่างๆ หากการวิบัติมีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน

ข่าวหน้าแรก การวิบัติของระบบกันดินสำหรับการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ที่ฝังไว้ใต้ดิน เมื่อ 17 ส.ค. 2540 (ข่าวจาก หนังสือพิมพ์เดลินิว)
ข่าวการวิบัติของถนนสายรังสิต – นครนายก

ในกรณีที่ต้องก่อสร้างคันดินโดยการถมบนชั้นดินเหนียวอ่อน อาจเกิดการวิบัติของคันดินได้ เนื่องจากกำลังรับแรงเฉือนของดินเหนียวอ่อนต่ำ ก่อนการก่อสร้างวิศวกรจึงต้องตรวจสอบเสถียรภาพของคันดินและดินที่อยู่ใต้คันดินว่ามีเสถียรภาพเพียงพอหรือไม่ ซึ่งต้องใช้ความรู้ทางด้านปฐพีกลศาสตร์ในด้านของกำลังต้านทานต่อแรงกระทำจากภายนอกของดิน และวิศวกรอาจจะต้องประมาณค่าทรุดตัวของคันดินที่ก่อสร้างบนดินเหนียวอ่อนด้วย เพื่อใช้ในการวางแผนการบำรุงรักษาหรือหามาตราการป้องกันซึ่งต้องใช้ความรู้ปฐพีกลศาสตร์ด้านการลดปริมาตรของดินที่ขึ้นกับเวลา รูปต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการทรุดตัวของชั้นดินเหนียวอ่อนที่แตกต่างจากการทรุดตัวของฐานรากสะพานที่วางอยู่บนเสาเข็ม

การทรุดตัวที่แตกต่างกันระหว่างชั้นดินถมกับฐานรากของสะพานที่วางอยู่บนเสาเข็ม
ปัญหาการทรุดตัวของฐานรากตื้นที่วางอยู่บนชั้นดินเหนียวอ่อน ทำให้ศาลพระภูมิเดียงจากแนวดิ่ง

อ้างอิง

หนังสือวิศวกรรมฐานราก

โดยพรพจน์ ตันเส็ง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ปัญหาทางวิศวกรรมที่ต้องใช้ความรู้ทางปฐพีกลศาสตร์

Leave a Reply

Scroll to top