เรื่อง ส้วม ส้วม

ส้วม

ปัญหาเรื่องส้วมเป็นปัญหายอดฮิตของบ้านเรา ส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิดมักจะเป็นเรื่องการราดส้วมไม่ลง,กลิ่นเหม็น, ส้วมเต็ม บ่อยมาก ซึ่งบางบ้านแก้ไขครั้งเดียวก็เสร็จเรียบร้อย บางแห่งแก้ไขกว่า 10 ครั้ง ก็ยังไม่หาย …. ปัญหาดังกล่าวอาจจะสรุปหาเหตุหลัก ๆ ได้ดังนี้ :

  • โถส้วมอยู่ระดับต่ำกว่าบ่อเกรอะ ทำให้ระยะลาดของท่อส้วมไปถึงบ่อเกรอะน้อยมาก โอกาสที่น้ำ จะไหลย้อนกลับมามีมาก
  • ท่อส้วมแตกและอาจไปฝัง (หรือเกือบฝังอยู่ในดิน) ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและราดส้วมไม่ลง หรือบางครั้ง ราดลง บางครั้งราดไม่ลง
  • ลืมใส่ท่ออากาศให้ส้วมหายใจ เวลาราดน้ำจะราดไม่ลง เพราะน้ำที่ราด ไม่สามารถ เข้าไปแทนที่อากาศได้
  • หากเป็นระบบบ่อซึม ที่วางไว้ในดินที่มีความชุ่มชื้นมาก แทนที่น้ำจากบ่อเกรอะ บ่อซึมจะซึมไหลออก กลับกลายเป็น น้ำซึมเข้า ปัญหาที่ตามมาคือ ส้วมเต็มบ่อย และราดน้ำไม่ลง
  • ขนาดบ่อเกรอะและบ่อซึมเล็กเกินไป (ในการก่อสร้างผู้ออกแบบจะกำหนดขนาดของบ่อเกรอะบ่อซึมไว้ ให้มีขนาด เหมาะสม กับ จำนวนคน ที่ใช้ส้วม หากใช้อาคารผิดประเภท หรือผู้รับเหมา ทำผิดขนาดขนาดของบ่อเกรอะ บ่อซึมโต ไม่พอ ก็จะทำให้ เต็มง่าย และเต็มเร็ว เพราะช่องว่างน้อย น้ำซึมออกไม่ทัน)
  • มีสิ่งของที่ไม่น่าจะใส่ลงไปในโถส้วมเข้าไปอยู่ เช่นผ้าอนามัย ถุงยางอนามัย เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่ยอมสลาย และอุดตัน
  • ผู้ที่ใช้บ่อเกรอะที่ใช้เครื่องกลช่วยการย่อยสลาย ซึ่งโฆษณาว่าเป็นถังส้วมไม่มีวันเต็ม แต่เดี๋ยวก็เต็มเดี๋ยวก็เต็ม น่าจะลองตรวจเช็คดูด้วยว่า คุณเสียบปลั๊กไฟฟ้าให้เครื่องจักร มันทำงานหรือเปล่า !!!! เหตุทั้งหมด ดังกล่าวข้างต้น คุณอาจจะลองตรวจเช็คด้วยตนเองได้ แต่หากส้วมของคุณ ยังมีปัญหาอยู่ ก็ต้องเดินไปหาผู้รู้จริง ๆ แล้วเท่านั้นแหละครับ

ส้วมในประเทศไทย มีมาแต่โบราณ โดยในสมัยก่อน ผู้ที่ใช้ส้วมแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มของกษัตริย์ เจ้านาย ขุนนางและผู้มีฐานะดี กลุ่มของพระที่อยู่ภายใต้พระธรรมวินัย กลุ่มของชาวบ้านที่เป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม โดยกลุ่มชาวบ้านมักจะไปถ่ายทุกข์ตามที่เหมาะ ๆ เนื่องจากยังไม่มีส้วมใช้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2440 รัฐได้ออกพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) มีผลบังคับให้คนไทยต้องขับถ่ายในส้วม

กระทั่งช่วงปี พ.ศ. 2460–2471 ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์และสาธารณสุขจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลเอกชนของสหรัฐอเมริกา โดยส่งเสริมให้มีการสร้างส้วมในจังหวัดต่าง ๆ และยังเกิดการประดิษฐ์คิดค้นส้วมรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับท้องถิ่นของไทย เช่น “ส้วมหลุมบุญสะอาด” ที่มีกลไกป้องกันปัญหาการลืมปิดฝาหลุมถ่ายและส้วมคอห่านที่ใช้ร่วมกับระบบบ่อเกรอะบ่อซึม ต่อมาเริ่มมีผู้ใช้ส้วมชักโครกมากขึ้นในช่วงที่มีการก่อสร้างบ้านแบบสมัยใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง กระทั่งต้นพุทธทศวรรษ 2500 โถส้วมชนิดนี้ก็ได้รับความนิยม มีผู้ใช้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนในปัจจุบัน

จากอดีตที่ผ่านมาส้วมสาธารณะในประเทศไทยเป็นปัญหาพื้นฐานที่สำคัญทางด้านสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย และทางกรมอนามัยเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการในเรื่องนี้ มีการสำรวจและประเมินผลมาตรฐานส้วมสาธารณะ พบว่าส้วมสาธารณะในประเทศไทยผ่านเกณฑ์มาตรฐานไม่มาก ในปี พ.ศ. 2549 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ งานประชุมส้วมโลก ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญในการพัฒนาส้วมสาธารณะ และมีโครงการหลายโครงการเกี่ยวกับส้วมสาธารณะอีกหลายโครงการ

ประเทศไทยได้ใช้มาตรการหลายอย่าง รวมทั้งมาตรการทางกฎหมายซึ่งมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับส้วม ปรากฏอยู่ในกฎหมายหลายฉบับที่เริ่มมีการออกพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 ซึ่งถือเป็นกฎหมายฉบับแรกเกี่ยวกับการสุขาภิบาลของคนกรุงเทพฯ และต่อมาได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537) ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 รวมถึงกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพและคนชรา พ.ศ. 2548

ความหมายของคำว่าส้วม

ความหมายของ “ส้วม” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต มีความหมายถึง ที่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ (ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “ที่อึและที่ฉี่”) ซึ่งคำว่า “ส้วม” เป็นคำเก่าแก่ที่ใช้กันมาตั้งแต่ก่อนสมัยรัตนโกสินทร์

จากหนังสือ “ส้วมและเครื่องสุขภัณฑ์ในประเทศไทย” ของมนฤทัย ไชยวิเศษ ได้แจกแจงความหมายของคำว่า “ส้วม” ไว้ดังนี้

คำว่าส้วมในภาษาล้านนามีความหมายว่า “หิ้งบูชา หรือที่นอนของพระ” โดยเฉพาะของเจ้าอาวาส ส่วนทางอีสานหรือลาว คำว่า “ส้วม” จะหมายถึง ห้องนอนของลูกสาวหรือเจ้าบ่าว-เจ้าสาวด้วย ส่วนคำอื่นที่มีความหมายว่าส้วม เช่น ห้องสุขา เวจ (เว็จ) ถาน (ส้วมของพระ) สีสำราญ และอุโมงค์ (สองคำหลังเป็นคำเรียกสถานที่ขับถ่ายของผู้หญิงที่อยู่ในวังหรือผู้หญิงชาววังที่มิใช่เจ้านาย) แต่สำหรับเจ้านายชั้นสูงหรือกษัตริย์จะใช้คำว่า “ห้องบังคน” เป็นคำที่มาจากภาษาเขมร ส่วนในปัจจุบัน คำว่า “ห้องส้วม” หรือ “ห้องสุขา” มักจะหมายถึง ห้องหับเล็ก ๆ ที่มิดชิด มีส่วนประกอบคือโถนั่งแบบชักโครก หรือส้วมที่ต้องนั่งยอง ๆ

— มนฤทัย ไชยวิเศษ

คำว่า “สุขา” น่าจะมาจากชื่อของ “กรมศุขาภิบาล” ที่ก่อตั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกสั้น ๆ ว่า “กรมศุขา” (มีความหมายถึง การบำรุงรักษาความสุข) และมีการเปลี่ยนคำเขียนเป็น สุขาภิบาล ดังนั้นห้องสุขาภิบาลหรือที่เรียกอย่างย่อว่า ห้องสุขา มีความหมายว่า “ห้องที่สร้างโดยสุขาภิบาลสำหรับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ” โดยมีหน่วยงานกรมศุขาภิบาลทำหน้าที่ในการรักษาความสะอาดของพระนครและป้องกันโรคระบาดในสมัยนั้น

หาข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดต่อปรึกษางานก็สามารถติดต่อได้ทาง

บริษัท ณรงค์ ไมโครสปัน จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายพร้อมตอกเสาเข็มไมโครไพล์ (Spun Micropile, Square Micropile, I Micropile, Steel Micropile)

www.narongmicrospun.com

www.narongmicropile.com

Tel : 02-159-8480 และ Mobile : 091-309-7695

เรื่อง ส้วม ส้วม

Leave a Reply

Scroll to top