Blogger

ข้อดีของเสาเข็มไมโครไพล์

เสาเข็มไมโครไพล์ (micropile) มีข้อดีหลายประการ ซึ่งทำให้เป็นทางเลือกที่นิยมใช้ในการก่อสร้าง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่และการเข้าถึง: การใช้เสาเข็มไมโครไพล์จึงเป็นทางเลือกที่ดีในหลาย ๆ โครงการที่ต้องการความมั่นคงและประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง #micropile#ไมโครไพล์#เสาเข็มไมโครไพล์#spun micropile#spun micro pile#micropile ไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์

เครื่องมือสำหรับงานก่อสร้าง

งานก่อสร้างอาคารนอกจากฝีมือของช่างผู้ที่ปฏิบัติงานก่อสร้างอาคารแล้วเครื่องมือก็เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน งานก่อสร้างอาคารมีช่างหลายสาขาประกอบกันอยู่ เช่น ช่างไม้แบบ ช่างไม้ โครงสร้าง ช่างปูน ช่างเหล็กเสริมคอนกรีต ช่างเชื่อมเหล็กโครงสร้างฯ จึงได้แบ่งเครื่องมือที่ใช้ในงาน ก่อสร้างอาคารเป็น 3 ประเภทดังนี้

อย่าเปลี่ยนพื้นห้องแถวชั้นล่างให้เป็น Slab on Beam

กว่า 99.99% ของห้องแถวในประเทศไทย พื้นชั้นล่างจะเป็น Slab on Ground คือพื้นชั้นล่าง ถ่ายน้ำหนัก ของพื้น ลงบนดินโดยตรง (เวลาดินทรุดพื้นห้องก็ทรุดตาม เกิดอาการแอ่นและแตกร้าว) แต่คุณก็อย่าดัน ไปทุบ พื้นเก่าทิ้ง แล้วหล่อพื้นขึ้นใหม่ ให้พื้นไปวางบนคาน (Slab on Beam) เพื่อป้องกันทรุด เชียวนา เพราะทั้งคาน- ตอม่อ- ฐานราก- เสาเข็ม ไม่ได้เตรียมตัวสำหรับน้ำหนักโครงสร้าง-น้ำหนักจร (Life Load & Dead Load) ไว้ อาจทำให้ อาคารคุณวิบัติเอาง่าย ๆ (แล้วชวนห้องอื่นเขาวิบัติตาม เพราะโครงสร้างห้องแถวนั้น ต่อเนื่องกันทุก ๆ ห้อง ใช้เสาเข็มเจาะแห้ง (Bore Pole Dry Process) อย่าเสียดาย ค่าทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม (Seismic Test) ปัจจุบันเสาเข็มเจาะแห้งเริ่มกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง หลังจากมีกฎหมายควบคุมการรบกวน ต่อบ้านข้างเคียง ของการใช้เสาเข็มตอก […]

ฐานรากเสาเข็ม

เสาเข็มนับว่าเป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างที่สัมผัสดินโดยตรง เสาเข็มจะท้าหน้าที่ถ่ายน้้าหนักของอาคารลงสู่ดินที่ระดับลึก กรณีที่จะต้องใช้เสาเข็มได้แก่ เมื่อชั้นดินระดับตื้นไม่สามารถรับน้้าหนักของอาคารได้ หรือเกิดได้ก็มีการทรุดตัวมากเกินไปเมื่อมีน้้าหนักของอาคารกดทับ จึงต้องใช้เสาเข็มในการถ่ายน้้าหนักของอาคารลงสู่ชั้นดินแข็งที่อยู่ในระดับลึก ถ้าชั้นดินแข็งอยู่ลึกมากน้้าหนักจะถ่ายลงสู่ดินในรูปของแรงเสียดทานที่ผิวของเสาเข็ม เมื่อโครงสร้างจะต้องรับแรงทางด้านข้าง หรือมีโมเมนต์ดัดจากโครงสร้างส่วนบน เสาเข็มอาจจะต้องถูกออกแบบให้รับได้ทั้งแรงในแนวดิ่งและโมเมนต์ ซึ่งโครงสร้างส่วนใหญ่ในกรณีนี้จะเป็น ก้าแพงกันดิน (Retaining wall) หรือโครงสร้างที่ต้องรับแรงลม หรือแรงเนื่องจากแผ่นดินไหว เมื่อโครงสร้างจะต้องก่อสร้างบน Expansive soil หรือ Collapsible soil ซึ่งมีความหนามาก Expansive soil จะพองตัวเมื่อความชื้นในดินเพิ่มขึ้น ถ้าใช้ฐานรากแบบตื้นจะท้าให้โครงสร้างเกิดความเสียหายได้ จึงต้องใช้เสาเข็มเพื่อถ่ายน้้าหนักลงสู่ชั้นดินที่ไม่มีการพองตัว ในกรณีที่โครงสร้างมีแรงถอนเกิดขึ้นเช่นโครงสร้างเสาส่งไฟฟูาหรือ อาคารห้องใต้ดินที่มีจมอยู่ใต้ระดับน้้าใต้ดินซึ่งจะมีแรงลอยตัวกระท้า ท้าให้ต้องใช้เสาเข็มยึดโครงสร้างไว้เพื่อต้านทานแรงถอน เสาเข็มของสะพานซึ่งการไหลของน้้าอาจกัดเซาะดินที่ท้องน้้า จึงต้องใช้เสาเข็มเพื่อถ่ายน้้าหนักสะพานลงสู่ชั้นดินที่น้้ากัดเซาะลงไปไม่ถึง การจำแนกชนิดของเสาเข็ม British Standard Code of Practice for Foundations (BS8004) ได้แบ่งเสาเข็มตามลักษณะการแทนที่ดินเป็น 3 พวกดังรูป 1. เสาเข็มที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนตัวของดิน ในปริมาณสูง (Large displacement pile) เป็นเสาเข็มที่ตัน หรือเสาเข็มกลวงแต่ปิดปลายไว้ ซึ่งการติดตั้งท้าได้โดยการตอกหรือกดลงในชั้นดิน ซึ่งได้แก่เสาเข็มตอกทุกชนิด2. […]

จับเซี้ยม จับฉาก จับปุ่ม คืออะไร

การจับเซี้ยม จับฉาก จับปุ่มเป็นกรรมวิธีจัดเตรียมระดับ-ระยะก่อนการฉาบปูน ลักษณะเป็นปุ่มปูนทรายที่แสดงถึงแนวสันของผนัง หรือ มีระนาบแบนให้เห็นความหนาของผิวปูนที่จะฉาบลงไป การฉาบปูนที่ถูกกรรมวิธี ช่างปูนจะต้องจับเซี้ยม จับฉาก จับปุ่มก่อนที่จะ ฉาบปูน เสมอ หากท่านเห็นว่าช่างปูนใดฉาบผนังบ้านท่านโดยไม่ทำเซี้ยม-ฉาก-ปุ่มเสียก่อน ก็น่าจะบอก ผู้ก่อสร้าง ให้เปลี่ยน ช่างปูนได้แล้วการก่ออิฐที่ถูกกรรมวิธีนั้นจะต้องดำเนินการดังนี้ อิฐจะต้องชุปน้ำให้ชุ่มน้ำเสียก่อน ไม่เช่นนั้นอิฐจะดูดซึมน้ำปูน จนปูนก่อไม่ทำหน้าที่ยึดเกาะที่ดี การก่ออิฐจะต้องไม่ก่อสูงมากนักในทีเดียว จะต้องทิ้งไว้ให้ปูนก่อยุบตัวลงมาแล้วจึงก่อต่อไปจนหมด และทิ้งช่องว่างระหว่างผนังกับท้องพื้นด้านบนไว้หน่อยก็จะยิ่งดี ภายหลังเมื่อผนังทรุดตัวดีแล้วจึงก่ออิฐก้อนสุดท้ายได้ เมื่อก่ออิฐเสร็จแล้วต้องทิ้งไว้อย่างน้อย 1 วันให้ผนังอยู่ตัว และความร้อนจากปูนก่อเย็นลง จึงเริ่มจับเซี้ยมจับฉากจับปุ่ม แล้วฉาบปูน การฉาบปูนต้องมีส่วนผสมที่ดี และน่าผสมน้ำยาเคมีประสานพิเศษกันแตกและห้ามฉาบปูนหนาเกินไป เพราะความร้อนของปูนชั้นในจะระเหยดันออกมายังชั้นนอก และทำให้ปูนฉาบนั้นแตกได้ การฉาบปูนที่ดี ไม่น่าใช้ฟองน้ำที่แห้งเกินไป เพราะจะดูดน้ำปูนออกจากปูนฉาบ หากมีงบประมาณเพียงพอ น่าให้ใช้วิธี “ปั่นแห้ง” ซึ่งช่างประเภทนี้กำลังจะหมดจากประเทศไทยเราแล้ว หากผิวปูนฉาบมีรอยแตกคล้ายลายงา ไม่ใช่เรื่องที่คอขาดบาดตาย ทิ้งเอาไว้สักพักแล้วใช้ทีทาแต่ง (โป๊ว) ลงไป ผิวแตกลายงานั้นจะหายไปเอง การจับเซี้ยม หลายคนอาจจะเคยได้ยิน สงสัยว่าคืออะไร จับเซี้ยมนั้นเป็นขั้นตอนแรกๆ ของงานฉาบ การจับเซี้ยม  คือ การกำหนดแนว […]

รู้หรือไม่ว่าการวางแนวรั้วหน้าบ้าน กับการวางแนวรั้วข้างบ้านต่างกันอย่างไร ?

รั้วข้างบ้านส่วนใหญ่จะติดต่อกับเพื่อนบ้าน ดังนั้นการทำรั้วก็จะวางแนวกึ่งกลางรั้วไว้ที่แนวแบ่งเขตที่ดิน(จากกึ่งกลางหลักเขต ถึงกึ่งกลางหลักเขต) ซึ่งทำให้รั้ว อยู่ในเขตเราครึ่งหนึ่ง และอยู่ในเขตบ้านข้างเคียง อีกครึ่งหนึ่ง แต่รั้วหน้าบ้าน มักจะต้องติดกับทางสาธารณะ การวางแนวรั้ว จะต้องวางให้ ขอบรั้วด้านนอก อยู่ในแนวของเขตที่ดิน (ห้ามมีส่วนใดส่วนหนึ่ง ของสิ่งปลูกสร้าง ล้ำเข้าไปใน ที่สาธารณะโดยเด็ดขาด) สร้างรั้วบ้านอย่างไร ไม่ให้ผิดกฎหมาย ในการสร้างรั้วแบ่งเป็นสองลักษณะคือ 1.รั้วที่สร้างติดแนวที่หรือถนนสาธารณะ  รั้วที่สร้างต้องอยู่บนที่ดินของตัวเองเท่านั้น ห้ามมีส่วนใดของรั้วยื่นล้ำออกไปแนวเขตที่สาธารณะ รวมถึงส่วนของฐานรากก็ไม่สามารถยื่นออกไปแนวเขตสาธารณะได้เช่นกัน และความสูงของรั้วต้องไม่เกิน 3 เมตร วัดจากระดับความสูงของที่สาธารณะ  (ในเขตกรุงเทพฯถ้าถนนกว้างไม่เกิน 6เมตร สามารถสร้างรั้วสูงได้ไม่เกิน 2 เมตร) ถ้าหากความสูงของรั้วสูงเกิน 3 เมตร ต้องถอยแนวรั้วเข้ามาในที่ของตนเองให้เท่ากับแนวความสูงของรั้ว เช่นถ้ารั้วเราสูง 3.5 เมตร ต้องถอยแนวรั้วเข้ามาในที่ดินของเราอีก 3.5 เมตรเช่นกัน 2. รั้วที่สร้างติดกันระหว่างที่ดินของเราเองกับเพื่อนบ้าน เราสามารถใช้แนวทางการสร้างรั้วที่ติดกับแนวเขตสาธารณะได้เช่นกัน แต่ถ้าหากสามารถเจรจาตกลงกับเพื่อนบ้านได้ก็สามารถที่จะใช้แนวรั้วกึ่งกลางระหว่างของแนวเขตที่ติดกันได้ เนื่องจากได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน รวมถึงการร่วมกันออกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างด้วย  ลักษณะของรั้ว ถ้าหากตรงที่ดินที่อยู่มุมถนนสาธารณะและมีมุมหักน้อยกว่า 135 องศา รั้วหรือกำแพงกั้นเขตที่อยู่มุมถนนสาธารณะที่มีความกว้างตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไป […]

เชื่อหรือไม่ คุณน่าจะเลือกโถส้วมก่อนการสร้างบ้าน ?

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าเรื่องที่ว่านี้เป็นเรื่องจริง เพราะสุขภัณฑ์ในบ้านเรา ต่างยี่ห้อกันแล้ว จุดหรือระยะการวางท่อ เข้าสู่สุขภัณฑ์ ก็แตกต่างกันออกไปด้วย จึงขอแนะนำว่าคุณน่าจะเลือกยี่ห้อสุขภัณฑ์ (รุ่นเอาไว้ทีหลัง ยังได้) เสียก่อนที่เขาจะเทพื้นคอนกรีต เพื่อผู้ก่อสร้าง จะได้เตรียมวางท่อไว้ให้ถูกจุด บ้านคุณจะได้ไม่มีปัญหา เรื่องรั่วซึมจากห้องน้ำ หรือปัญหาสุขภัณฑ์ ใช้ไม่ได้ไงครับ บ้านคุณน่าจะมีถังเก็บน้ำไว้แน่ ๆ แต่ทราบไหมว่า คุณน่าจะซื้อถังเก็บน้ำขนาดไหน? ต้องถามก่อนว่าบ้านคุณมีกี่คน คนหนึ่งคนจะใช้น้ำประมาณ 200 ลิตร ต่อวัน หากบ้านคุณมี 5 คน และต้องการ เก็บน้ำ ไว้เผื่อใช้ สัก 3 วัน ก็คำนวณได้ว่าถังน้ำจะมีขนาด = จำนวนคน x 200 ลิตร x 3 วัน = 5 x 200 x 3 = 3,000 ลิตร = 3 ลบ.ม. […]

เรื่อง ส้วม ส้วม

ปัญหาเรื่องส้วมเป็นปัญหายอดฮิตของบ้านเรา ส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิดมักจะเป็นเรื่องการราดส้วมไม่ลง,กลิ่นเหม็น, ส้วมเต็ม บ่อยมาก ซึ่งบางบ้านแก้ไขครั้งเดียวก็เสร็จเรียบร้อย บางแห่งแก้ไขกว่า 10 ครั้ง ก็ยังไม่หาย …. ปัญหาดังกล่าวอาจจะสรุปหาเหตุหลัก ๆ ได้ดังนี้ : โถส้วมอยู่ระดับต่ำกว่าบ่อเกรอะ ทำให้ระยะลาดของท่อส้วมไปถึงบ่อเกรอะน้อยมาก โอกาสที่น้ำ จะไหลย้อนกลับมามีมาก ท่อส้วมแตกและอาจไปฝัง (หรือเกือบฝังอยู่ในดิน) ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและราดส้วมไม่ลง หรือบางครั้ง ราดลง บางครั้งราดไม่ลง ลืมใส่ท่ออากาศให้ส้วมหายใจ เวลาราดน้ำจะราดไม่ลง เพราะน้ำที่ราด ไม่สามารถ เข้าไปแทนที่อากาศได้ หากเป็นระบบบ่อซึม ที่วางไว้ในดินที่มีความชุ่มชื้นมาก แทนที่น้ำจากบ่อเกรอะ บ่อซึมจะซึมไหลออก กลับกลายเป็น น้ำซึมเข้า ปัญหาที่ตามมาคือ ส้วมเต็มบ่อย และราดน้ำไม่ลง ขนาดบ่อเกรอะและบ่อซึมเล็กเกินไป (ในการก่อสร้างผู้ออกแบบจะกำหนดขนาดของบ่อเกรอะบ่อซึมไว้ ให้มีขนาด เหมาะสม กับ จำนวนคน ที่ใช้ส้วม หากใช้อาคารผิดประเภท หรือผู้รับเหมา ทำผิดขนาดขนาดของบ่อเกรอะ บ่อซึมโต ไม่พอ ก็จะทำให้ เต็มง่าย และเต็มเร็ว เพราะช่องว่างน้อย น้ำซึมออกไม่ทัน) […]

ทำไม้แบบ เขาให้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนกันเท่าไร จึงยังไม่อันตราย

หลายครั้งที่มีการขัดแยังกันระหว่างผู้รับเหมาก่อสร้าง และคนควบคุมงาน (ซึ่งอาจจะรวมไปถึ งเจ้าของโครงการด้วย) เมื่อผู้รับเหมาก่อสร้าง วางขนาดไม้แบบผิดพลาด (หรือหล่อคอนกรีต ออกมาแล้ว เห็นความผิดพลาด ) ซึ่งในชีวิตจริง การที่จะจะเตรียมไม้แบบทุกอย่าง ไม่ให้ผิดพลาดเลย ย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่หากปล่อยให้ผิด (กันจนเพลิน) ก็เป็นอันตราย ต่อระบบโครงสร้างแน่นอน เรื่องนี้ ทางวิศวกรรมสถานฯ ได้มีมาตรฐาน ไว้ดังต่อไปนี้ คลาดเคลื่อนแนวดิ่งในแต่ละชั้น = 10 mm. คลาดเคลื่อนจากระดับหรือแนวลาดในช่วง 10 เมตร = 15 mm. คลาดเคลื่อนจากแนวอาคารที่กำหนดในแบบ และ ตำแหน่งฝาผนังและฝาประจันที่เกี่ยข้องในช่วง 10 เมตร = 20 mm. คลาดเคลื่อนของขนาดหน้าตัดเสา-คาน-พื้น-ผนัง = 5.+10 mm. ไม้แบบคลาดเคลื่อนในฐานรากตำแหน่งฐานรากผิดหรือเฉศูนย์คลาดเคลื่อนความหนาฐานราก = 20.+50 mm.= 50 mm.= 50.+100mm. คลาดเคลื่อนของความหนาขั้นบันได ลูกตั้ง/ลูกนอน = 2.5 […]

บันไดที่ดีน่าจะกว้างเท่าไร สูงเท่าไร?

หากไม่ว่ากันตามตัวบทกฎหมาย แต่ว่ากันตามความสบาย และความที่น่าจะเป็น บันไดน่าจะมีสัดส่วน ดังนี้ : ชนิดของอาคาร กว้างไม่น้อยกว่า(เมตร) ลูกตั้งสูงไม่เกิน(เซนติเมตร) ลูกนอนไม่น้อยกว่า(เซนติเมตร) บ้านพักอาศัย 1.00 18.00 27.00 บันไดหลักอาคารใหญ่ 1.50 18.00 27.00 บันไดรองอาคารใหญ่ 1.20 20.00 25.00 บันไดหน้าอาคารใหญ่ 2.00 17.00 30.00 ออกแบบเขียนแบบบันได อย่าลืมว่า ลูกนอนบริเวณชานพัก จะต้องเยื้องกัน สมัยก่อนการออกแบบส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นบ้านพักอาศัยหรืออาคารที่ไม่สูงใหญ่มาก ระบบการติดต่อทางตั้ง ก็จะใช้บันได เป็นหลัก แต่เดี๋ยวนี้ อาคารสูงใหญ่เกิดขึ้นมากมาย สถาปนิกจึงมักคำนึงเพียงการใช้ลิฟท์ขนส่งทางตั้ง จนคนรุ่นหลัง ๆ ชักจะ ออกแบบ เขียนแบบ บันไดกันไม่เป็นเสียแล้ว ความผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้นก็คือ การเขียนลูกนอนของบันได บริเวณ ชานพักทั้งขั้น ที่ขึ้นสู่ ชานพัก และขั้นจาก ชานพักสู่ชั้นบน มักจะเขียนแบบให้อยู่ระดับ เสมอกัน…. ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงก็คือ ราวบันได […]

ย้อนเรื่องราวชาวแฟลตดินแดง จากจุดพักขยะมูลฝอย สู่ที่พักผู้มีรายได้น้อยใกล้เมือง

เสร็จสิ้นไปเป็นที่เรียบร้อย สำหรับการย้ายที่อยู่อาศัยใหม่ของชาวแฟลตดินแดงอาคาร 18-22 ไปที่คอนโดมิเนียมแปลง G ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดงระยะที่ 1 โดยตึกแปลง G นี้จะมีทั้งหมด 28 ชั้น รวมทั้งหมด 334 ยูนิต และในอนาคตก็ยังจะเริ่มดำเนินโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดงระยะที่ 2, 3 และ 4 ให้แล้วเสร็จตามลำดับ โดยคาดว่าน่าจะไม่เกินปี 2567 นี้อย่างแน่นอน หากย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้น เดิมพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นที่พักขยะมูลฝอยของเทศบาลนครกรุงเทพฯ กับที่โล่งทุ่งนาของเอกชน ซึ่งทางราชการได้เวนคืนมาเมื่อปี พ.ศ. 2485 หลังจากนั้น 10 ปี ช่วงพ.ศ. 2494 กรมประชาสงเคราะห์จึงได้เริ่ม “โครงการจัดสร้างอาคารสงเคราะห์บริเวณถนนดินแดง” ขึ้น เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้น้อย โดยสร้างเป็นบ้านไม้จํานวนหนึ่ง และถัดไปอีก 10 ปี ประมาณพ.ศ. 2504 กรมประชาสงเคราะห์ก็คาดการณ์ว่า…ในอนาคตอาจเกิดปัญหาการขาดแคลนที่ดินสําหรับสร้างที่พักอาศัยให้กับประชาชน บวกกับบ้านไม้ที่สร้างไว้เริ่มมีการชำรุดทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว และมีสภาพไม่ระเบียบเร็วกว่าที่ได้ประเมินการณ์ไว้ อีกทั้งที่ดินบริเวณถนนดินแดง ณ ขณะนั้น ก็เริ่มกลายสภาพเป็นแหล่งเสื่อมโทรม เหมาะเจาะดีกับช่วงที่กำลังจะมีโครงการทางหลวงแผ่นดิน กรุงเทพ-ดอนเมือง (ถนนวิภาวดีรังสิต) ตัดเข้าผ่านถนนดินแดงแห่งนี้ด้วย […]

ช่องว่างระหว่างตัวบ้านกับส่วนต่อเติม เกิดรอยแยกแก้ไขอย่างไร ?

ปัญหาส่วนต่อเติมบ้านทรุดคือปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุดปัญหาหนึ่งเนื่องจากบ้านในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว หรือทาวน์โฮม มักนิยมทำการต่อเติมเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นห้องครัว หรือห้องน้ำ  โดยสาเหตุมาจากการก่อสร้างที่ผิดหลัก กล่าวคือ ไม่ได้แยกโครงสร้างส่วนต่อเติมตัดขาดจากตัวบ้านเดิม (ก่อสร้างติดกัน) ทำให้ส่วนต่อขยายเกิดการยุบตัวของชั้นดินที่มีมากกว่าบ้านเดิมที่ทรุดจนอิ่มตัวแล้ว นึกภาพง่ายๆเมื่ออาคารหนึ่งทรุดจนอิ่มตัวแล้วกับอาคารใหม่ที่เพิ่งเริ่มทรุด มันก็จะเกิดรอยแยกระหว่างสองส่วนเกิดขึ้นนั่นเอง อีกเหตุผลหนึ่งของการทรุดตัวก็คือการใช้เสาเข็มที่มีความลึกของเสาไม่เพียงพอต่อการรับน้ำหนักโครงสร้าง หรือสภาพของดินที่ทำการต่อเติมมีลักษณะนุ่มกว่า ทั้งหมดนี้เป็นที่มาทำให้เกิดการทรุดตัวของส่วนต่อขยาย เกิดเป็นรอยแยกของผนังบ้านเดิมกับส่วนต่อเติมขึ้น ซึ่งวิธีแก้ไขสามารถทำอะไรได้บ้างวันนี้ Admin มีคำตอบมาฝาก วิธีป้องกันและแก้ปัญหาส่วนต่อขยายทรุด ปัญหาเรื่องการทรุดตัวของห้องส่วนต่อเติม เกิดจากการไม่ได้วางแผนหรือเตรียมโครงสร้างส่วนต่อขยายอย่างถูกต้อง ไม่ได้วางระบบฐานราก หรือเป็นการต่อเติมบ้านบนดินที่เพิ่งถมได้ไม่นาน ทั้งหมดเป็นปัจจัยทำให้ส่วนต่อเติมใหม่เกิดการทรุดตัวไว ตามมาซึ่งรอยแยกหรือรอยฉีกของผนังบ้านเดิมกับส่วนต่อเติมปรากฎให้เห็น นอกจากดูไม่สวยงามแล้ว ยังไม่ปลอดภัยสำหรับผู้อยู่อาศัย เพราะรอยแยกที่เกิดขึ้นมีโอกาสพังถล่มลงมาได้ รวมไปถึงปัญหาน้ำรั่วซึมผ่านรอยแยก หรือแม้กระทั่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เลื้อยคลานได้อีกด้วย สำหรับบ้านที่มีแพลนก่อสร้างส่วนขยาย เพื่อเลี่ยงการทรุดตัวให้เลือกใช้วิธีก่อสร้างส่วนต่อเติมโดยการแยกโครงสร้างขาดกับตัวบ้านเดิม เพื่อไม่ให้ฐานรากรับน้ำหนักมากจนเกินไป อย่างไรก็ตามสำหรับเจ้าของบ้านท่านใดที่ทำการก่อสร้างไปแล้ว และกำลังประสบปัญหารอยแยก รอยฉีกของผนังส่วนต่อเติมไม่ต้องกังวลใจไปครับ เพราะวันนี้ Admin มีผลิตภัณฑ์ซ่อมสร้างที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีง่ายๆนั่นก็คือใช้ พียู โฟม โพลียูรีเทน ชนิดสเปรย์โฟม ใช้งานอเนกประสงค์ นั่นเอง พียู โฟม คืออะไร ? พียู โฟม เป็นโฟมสำเร็จรูปใช้งานอเนกประสงค์ ขยายตัวได้ ใช้อุดรูโพรง ช่องว่าง […]

ซื้อบ้านมาแล้วแต่อยากกั้นห้องเพิ่มต้องทำอย่างไร? ใช้ผนังเบาแบบไหนดี

หนึ่งในทางเลือกที่นิยมนำมาใช้กั้นห้องเพื่อแบ่งพื้นที่เพิ่มเติมคือการเลือกใช้ “ผนังเบา” เพราะมีน้ำหนักเบาไม่ต้องมีคานรองรับ หาซื้อได้ง่ายและราคาไม่แพง ใช้เวลาติดตั้งไม่นาน และมีให้เลือกหลากหลายชนิด ตั้งแต่แผ่นยิปซัม แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์หรือสมาร์ทบอร์ด ถ้าเช่นนั้นเวลาให้ผู้รับเหมาเข้ามาทำต้องตรวจดูงานอะไรบ้าง ถึงจะทำให้คุณได้ผนังกั้นห้องใหม่ที่สวยถูกใจ เพราะหากได้ช่างไม่เก่งพอ คงได้ผนังบ้านที่น่าหนักใจขึ้นมาแทน จนอาจคิดว่าไม่น่ากั้นห้องเลย อย่ากระนั้นเลย admin มีคำแนะนำในการตรวจงานผนังเบาว่ามีขั้นตอนการดูอย่างไรบ้าง โดยแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้ครับ เลือกผนังเบาและตรวจของก่อนติดตั้ง การกั้นห้องต้องระบุกับผู้รับเหมาว่าต้องการกั้นห้องเพื่อใช้ทำเป็นห้องอะไร เพื่อเลือกใช้ผนังเบาที่มีชนิดและความหนาที่เหมาะสม ถ้าเป็นการเสริมผนังอีกชั้นเพื่อทำเป็นผนังกันความร้อนก็จะมีฉนวนอยู่ข้างใน หรือ ต้องการห้องที่เก็บเสียงก็ต้องเลือกแผ่นที่มีความหนามากหน่อย และผนังเบาแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติและข้อดีต่างกัน อาทิ แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์มีข้อดีที่สามารถทนแดดทนฝนได้จึงเหมาะใช้ภายนอก ส่วนแผ่นยิบซัมนั้นน้ำหนักเบา มีราคาถูกกว่า และมีความเรียบเนียนของผิวแผ่นทำให้ฉาบเก็บรอยได้ดี ตรงนี้ก็อยู่ที่ช่างหรือผู้ออกแบบแนะนำว่าควรเลือกใช้แบบไหน ซึ่งก็ควรจะเหมาะสมกับห้องที่เราต้องการ แต่แน่นอนว่ายิ่งหนายิ่งดี … แต่ก็จะยิ่งแพงครับ เมื่อเลือกผนังเบาได้แล้ว เมื่อช่างไปซื้อของมา ก็ต้องตรวจวัสดุที่ช่างนำมาใช้ว่ามีขนาดและความหนาที่ตรงกับที่คุยกันหรือที่สเปคหรือไม่ ตัวอย่างเช่น แผ่นสมาร์ทบอร์ดจะมีขนาดมาตรฐาน 1.20 x 2.40 เมตร มีความหนาตั้งแต่ 4-24 มิลลิเมตร แต่สำหรับงานกั้นผนังในบ้านนิยมใช้ความหนา 4-8 มิลลิเมตร ส่วนผนังนอกบ้านนิยมใช้ความหนา 10-12 มิลลิเมตร เพื่อความแข็งแรงที่มากกว่าผนังในบ้าน ส่วนความหนา […]

วิธีการเลือกใช้ฐานราก แบบฐานรากแผ่ หรือ แบบเสาเข็ม

สมมุติว่าเรา จะก่อสร้างอาคารสักอาคารนึง และเราจะเลือกฐานรากแบบไหนดี ความลึกของฐานราก หรือความลึกของเสาเข็มจะลึกเท่าไรส่วนตัวผมจะทำอย่างนี้ครับ ถ้า ไม่ใช่กรุงเทพ อันดับแรกผมจะถามข้อมูลดินจากที่ข้างเคียงก่อน หรือบริษัทเสาเข็มเจ้าถิ่นครับ ว่าเขาทำฐานรากยังไง ความลึกเท่าไรเป็นข้อมูลในใจแล้วคำนวนออกแบบโครงสร้างตามปรกติ ผมจะทราบน้ำหนักของอาคารที่ลงในฐานรากแต่ละฐานครับว่ามีน้ำนักกดลงไปเท่าไร ที นี้ก็มาดูข้อมูลดิน ว่าเป็นยังไง ถ้ารู้ข้อมูลดินมาว่าแถวนั้น ตอกเข็มไม่ลง และ้ต้องเป็นฐานแผ่แน่ๆ ผมก็จะระบุไว้ในแบบ เพื่อความปลอดภัยว่า“ผู้รับเหมาจะต้องทำการสำรวจชั้นดิน หรือทำการทดสอบการรับน้ำหนักของดินก่อนทำการก่อสร้าง”การ ตรวจสอบส่วนใหญ่ จะมี 2 วิธีคือ การทำ Borring Log และการทำ plate barring Test (รายละเอียดค่อยว่ากันนะ คร่าวๆคืออันแรกเป็นการตวจสอบชั้นดิน อีกอันเป็นการเทสการรับน้ำหนักของชั้นดินครับ) แล้วก็ออกแบบฐานรากแผ่ ว่าควรจะใหญ่ขนาดไหน โดยการสมมุติ การรับน้ำหนักของดิน เรียกว่าเดาอย่างมีหลักการครับว่า1. ภาคกลาง, ภาคเหนือ, อีสาน ใช้ 8 ตันต่อตารางเมตร2. ภาคตะวันออก ชลบุรี, ระยอง ภาคใต้ ใช้ 10 ตันต่อตารางเมตร3. โซนใกล้ ภูเขา […]

ข้อดี – ข้อเสียของแต่ละประเภทเสาเข็มไมโครไพล์

ข้อดี – ข้อเสียของแต่ละประเภทเสาเข็มไมโครไพล์ ปัจจุบันการเลือกใช้งานเสาเข็มไมโครไพล์กำลังเป็นที่นิยม และมีให้เลือกหลากหลาย เช่น เสาเข็มทรงสี่เหลี่ยม เสาเข็มรูปตัวไอ เสาเข็มสปันไมโครไพล์ ซึ่งแต่ละประเภทต้องบอกก่อนว่ามีทั้งข้อดี  ข้อเสียที่แตกต่าง ก่อนเลือกใช้เพื่อให้ตอบโจทย์ต่องานจึงควรศึกษาอย่างละเอียด ลดความเสี่ยงเกิดปัญหาตามมาได้ ข้อดี – ข้อเสียของเสาเข็มไมโครไพล์แต่ละประเภท ความโดดเด่นของเสาเข็มสร้างบ้าน ต่อเติมบ้านนั้น “ไมโครไพล์” ได้รับไปแบบเต็ม ๆ ด้วยขนาดที่เล็ก สามารถใช้งานในพื้นที่แคบได้ เสียงตอกเบา แรงสะเทือนน้อยไม่เป็นที่รำคาญของเพื่อนบ้าน เพราะมีการตอกด้วยระบบไฮดรอลิกโดยได้วิศวกรมาคำนวณแล้ว นอกจากนี้ การต่อเสาก็ยังเชื่อด้วยส่วนหัวและท้ายระหว่างท่อ แน่นอนว่าแต่ละประเภทมีทั้งข้อดี  ข้อเสีย เสาเข็มสปันไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ประเภทแรกนี้จะผลิตต่างจากประเภทอื่น ๆ เพราะมีการใช้แรงเหวี่ยงเพื่ออัดคอนกรีตแข็งหนาแน่น แล้วเกิดเป็นหน้าตัดวงกลม มีรูตรงกลาง มีเหล็กอยู่ภายในเสาเพิ่มความแข็งแรง โดยความยาวของแต่ละท่อนจะอยู่ที่ 1 – 2 เมตร ขึ้นอยู่กับการกำหนดของผู้ผลิต ข้อดี : ด้วยความที่น้ำหนักเบา กดลงไปแล้วเกิดรอยร้าวน้อย เพราะคอนกรีตอัดมาสูง ส่วนหัวหรือท้ายเชื่อมต่อง่าย ศูนย์กลางกำหนดไว้ได้ตามต้องการ ข้อเสีย : ด้วยต้นทุนสูง และการผลิตซับซ้อน จึงมีราคาสูงมาก […]

ความลึกของการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ (micropile) ที่ไม่ทำให้บ้านทรุด

ความลึกของการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ (micropile) ที่ไม่ทำให้บ้านทรุด เสาเข็มเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างบ้าน ซึ่งปัจจุบันเสาเข็มไมโครไพล์กำลังเป็นที่นิยมใช้งาน ทว่าการสร้างบ้านด้วยเสาเข็มประเภทนี้ต้องมีการตอกด้วยความลึกที่เหมาะสม ไม่ทำให้ตัวเสาร้าว หรือเกิดปัญหาบ้านทรุดได้ แล้วความลึกของเสาควรต้องอยู่ที่เท่าไหร่ สิ่งสำคัญคือการศึกษาข้อมูลสร้างความเข้าใจให้ตัวเองอย่างลึกซึ้ง เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักได้อย่างไร? โดยทั่วไปแล้วเสาเข็มสามารถรับน้ำหนักที่มากดทับได้จากแรงกระทำหลัก ๆ มีอยู่ 2 ชนิด คือ แรงต้านที่ปลายเสาเข็ม หรือ End Bearing ที่จะเกิดขึ้นอยู่ส่วนปลายเข็ม ซึ่งแรงที่เกิดขึ้นมาจากพื้นดินที่ช่วยรองรับส่วนปลาย ทั้งนี้ แรงจะมีน้ำหนักมากหรือน้อย จะขึ้นอยู่กับประเภทของดินที่มีแตกต่างกัน แรงเสียดทานที่ผิวของเสาเข็มได้รับ หรือ Skin Friction ที่จะเกิดแรงเสียดทานระหว่างผิวของเสาเข็มไมโครไพล์ และดินที่อยู่รอบ ๆ โดยที่ขึ้นอยู่กับผิวดินอีกเช่นกันว่าจะทำให้เกิดแรงขึ้นมามากหรือน้อย รวมถึงลักษณะของเสาแต่ละประเภทด้วย การตอกเสาเข็มไมโครไพล์ควรมีความลึกที่เท่าไหร่? โดยทั่วไปแล้วการสร้างบ้านจะต้องขึ้นอยู่กับเสาเข็มที่มีความสามารถในการรับน้ำหนักที่แตกต่าง ซึ่งควรต้องมีการตอกที่ลึกจนถึงชั้นดินแข็งเฉลี่ยแล้วประมาณ 21 เมตร เสาเข็มไมโครไพล์สามารถกดลงได้ลึกกว่า 20 เมตร หรือสูงสุดไปถึง 30 เมตร สามารถรับน้ำหนักได้มากกว่า 30 – 50 ตัน เพื่อให้เกิดแรงต้านทั้ง 2 แบบที่กล่าวไป ป้องกันการเกิดบ้านทรุดในอนาคตได้เป็นอย่างดี […]

วิธีเลือกผู้ให้บริการเสาเข็มไมโครไพล์ที่ตอบโจทย์

วิธีเลือกผู้ให้บริการเสาเข็มไมโครไพล์ที่ตอบโจทย์ เมื่อมีความสนใจอยากต่อเติม หรือสร้างบ้านด้วยเสาเข็มไมโครไพล์ สิ่งสำคัญที่สุดคือการเลือกผู้ใช้บริการที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เพื่อให้การติดตั้งดำเนินไปอย่างถูกต้องเหมาะสม รวมถึงไม่เป็นปัญหาในอนาคตที่อาจทำให้ปวดหัว ไม่สบายใจขึ้นมาได้ ดังนั้น จึงไม่อาจมองข้ามการศึกษาถึงวิธีเลือกผู้ให้บริการที่ตอบโจทย์อย่างละเอียด แนะนำการเลือกผู้ให้บริการเสาเข็มไมโครไพล์ที่ตอบโจทย์ ต้องมีความน่าเชื่อถือ อย่างแรกที่ต้องมองเลยจริง ๆ ก็คือเรื่องของความน่าเชื่อถือ ที่ผู้ให้บริการเสาเข็มไมโครไพล์ควรต้องมีอย่างที่สุด แนะนำว่าต้องเป็นแหล่งที่เปิดให้บริการมายาวนาน มีรายละเอียดการจัดตั้งบริษัทชัดเจน สามารถเดินทางไปหาได้เลย หรือมีประวัติการจัดตั้งบริษัทให้เราได้ศึกษาด้วยก็ได้ รวมถึงสินค้าได้รับมาตรฐานความปลอดภัยมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดูรีวิวจากผู้เคยใช้งานมาก่อน หรือหากใครที่ยังไม่มั่นใจ จะลองเลือกศึกษาจากรีวิวของผู้อื่นที่เคยใช้งานมาก่อนก็ได้ เพื่อดูว่าผลลัพธ์การติดตั้ง สินค้าต่าง ๆ เป็นอย่างไร เหมาะสมกับที่เราจะเรียกใช้บริการหรือไม่ โดยที่ผู้เคยใช้งานมาก่อนจะแสดงความคิดเห็นที่ตรงไหนตรงมา ซึ่งมีผลต่อผู้ให้บริการอย่างมาก ทั้งนี้ ผู้ให้บริการต้องเต็มใจเปิดเผยรีวิวโดยที่ไม่สามารถลบ หรือแก้ไขข้อความรีวิวด้วย สามารถให้คำแนะนำได้อย่างดี ผู้ให้บริการจำต้องมีความรู้ ความชำนาญ และสามารถให้คำแนะนำที่ดีกับลูกค้าได้ เพราะเสาเข็มไมโครไพล์ยังเป็นอุปกรณ์ก่อสร้างที่ใหม่สำหรับใครหลายคน เพื่อให้ลูกค้าได้ทำความเข้าใจเพิ่มเติม หรือหากลูกค้าคนไหนสับสน ตัดสินใจเลือกไม่ได้ ผู้ให้บริการก็จะเป็นผู้แนะนำ และตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ มีบริการให้เลือกหลากหลาย ด้วยประเภทของเสาเข็มไมโครไพล์มีให้เลือกหลากหลาย  เช่น เสาเข็มสปันไมโครไพล์, เสาเข็มรูปตัวไอ หรือเสาเข็มทรงสี่เหลี่ยม ฯลฯ รวมถึงขนาดที่ก็มีหลากหลายเช่นกัน ทั้งเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 ซม. […]

ทำความรู้จักเสาเข็มไมโครไพล์คืออะไร แล้วมีให้ใช้งานกี่ประเภท

ทำความรู้จักเสาเข็มไมโครไพล์คืออะไร แล้วมีให้ใช้งานกี่ประเภท เมื่อต้องเลือกใช้งานเสาเข็มเพื่อสร้าง หรือต่อเติมบ้าน ปัจจุบันเรามักจะได้ยินคำแนะนำเลือกใช้ “เสาเข็มไมโครไพล์” ซึ่งต้องยอมรับว่าบางคนอาจจะยังไม่เคยรู้จักมาก่อน ดังนั้น การได้ศึกษาทำความรู้จักว่าคือเสาเข็มอะไร แล้วมีให้ใช้งานกี่ประเภทจึงไม่อาจมองข้ามได้ เพื่อการพิจารณาเลือกใช้งานที่ตอบโจทย์ เสาเข็มไมโครไพล์คืออะไร? เสาเข็มไมโครไพล์ คือเสาเข็มที่ได้นวัตกรรมทางวิศวกรรมเข้าช่วย อาศัยความแข็งแรงในการสร้างรากฐานให้กับบ้าน ป้องกันการทรุดตัว ซึ่งจะมีการใช้ปั้นจั่นพิเศษตอกเสาเข็มนี้ลงไป สิ่งที่น่าสนใจคือการที่เราสามารถเลือกใช้งานได้กับทุกสภาพพื้นที่ ตอกชิดผนัง หรือกระจกได้ พื้นที่แคบเข้าไปได้ ไม่ทำให้เกิดปัญหา เสียงเบามาก ไม่จำเป็นต้องขนดินไปทิ้งเพราะดินกระจายออกมาน้อยมาก การผลิตเสาเข็มชนิดนี้จะใช้วิธีหล่อแบบพิเศษที่ทำให้เนื้อคอนกรีตหนาแน่น และสูงกว่าการหล่อแบบธรรมดา รับน้ำหนักได้มากกว่า 10 – 55 ตัน ขึ้นอยู่กับประเภทของเสาเข็มนี้ด้วย เสาเข็มไมโครไพล์มีให้ใช้งานกี่ประเภท? โดยทั่วไปแล้วเสาเข็มไมโครไพล์จะมีให้ใช้งานด้วยกันหลัก ๆ แล้ว 3 ประเภท ได้แก่ เสาเข็มรูปตัวไอ หรือ I micropile จะเป็นเสาเข็มที่มีลักษณะเป็นรูปตัวไอ I โดยความยาวจะอยู่ที่ท่อนละ 1.5 เมตร จะมีการเทคอนกรีตลงไปในแบบเพื่อหล่อ แล้วใช้เครื่องจี้คอนกรีตมาเพิ่มความหนาให้กับเสามีมากขึ้น       เสาเข็มเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง หรือ […]

การออกแบบกำลังรับน้ำหนักของฐานรากแผ่และเสาเข็มจากการเจาะสำรวจและทดสอบดิน (โดยประมาณ)

การออกแบบกำลังรับน้ำหนักของฐานรากแผ่จากผลการเจาะสำรวจและทดสอบดิน (โดยประมาณ)             สำหรับการออกแบบระบบฐานรากในเบื้องต้นโดยประมาณ (preliminary design) : F.S. = 3.0 โดยอาศัยผลการทดสอบที่ได้จากการทดสอบทั้งในสนามและห้องทดลอง สามารถทำได้ดังนี้ ·       สำหรับกรณีของดินเหนียว (F.S. = 2.5 – 3.0) กำลังรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของดิน (qall) = qu = 2c; ปอนด์ต่อตารางฟุต กำลังรับน้ำหนักบรรทุกประลัย (qult) = 1.25N; T/m2. ·       สำหรับกรณีของดินทราย (F.S. = 2.5 – 3.0) กำลังรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของดิน (qall) = 250N; ปอนด์ต่อตารางฟุต (สำหรับ 10 ≤ N ≤ 50) กำลังรับน้ำหนักบรรทุกประลัย (qult) = 40N; T/m2. …[Meyerhof, […]

หลักการเบื้องต้นในการอ่านผลการเจาะสำรวจดิน

1.     การพิจารณาค่าจากการทดสอบ Atterberg Limits ซึ่งการพิจารณาดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจทั้งในขั้นตอนของการออกแบบ และการควบคุมงานก่อสร้างในส่วนของระบบฐานราก เช่นจะใช้เสาเข็มระบบใด (เสาเข็มตอกหรือเสาเข็มเจาะ) ปลอกเหล็กกันดินพังควรจะฝังลึกเท่าไร จะต้องใช้ของเหลวช่วยป้องกันการพังของผนังหลุมเจาะหรือไม่ เหล่านี้เป็นต้น      – หากดินมีค่า water content (v) เข้าใกล้ค่า LL. หรือมีค่ามากกว่า หมายถึงดินที่ระดับความลึกนั้นมีสภาพอ่อน มีกำลังรับแรงเฉือนได้ต่ำแต่จะมีค่าทรุดตัวสูง      – หากดินมีค่า water content (v) เข้าใกล้ค่า PL. หมายถึงดินที่ระดับความลึกนั้นมีสภาพแข็ง มีกำลังรับแรงเฉือนได้สูงแต่จะมีค่าทรุดตัวน้อย      – หากดินมีค่า Plasticity index (P.I. = LL. – PL.) มีค่าสูง หมายถึงดินที่ระดับความลึกนั้นมีกำลังรับแรงเฉือนได้ต่ำ แต่จะมีค่าทรุดตัวและบวมตัวสูง 2.     การพิจารณาค่าจากผลการทดสอบ SPT (N Blows/ft.) ในที่นี้หมายถึงค่า N ที่ผ่านการปรับแก้ผลอันเนื่องมาจากอุปกรณ์ที่ใช้ (พลังงานที่ใช้ตอก) และผลของแรงเนื่องดินกดทับ […]

การใช้ข้อมูลการทดสอบ SPT

ค่า SPT -N เป็นแค่เพียงดัชนีชี้วัดพฤติกรรมของดินตอบสนองต่อการตอกเท่านั้น ไม่ได้เป็นการวัดคุณสมบัติทางกลของดินโดยตรง ดังนั้นการจะนำไปใช้วิเคราะห์ทางด้านวิศวกรรมปฐพี จำเป็นจะต้องเปลี่ยนเป็นข้อมูลที่สามารถใช้ได้เสียก่อน โดยอาศัยความสำพันธ์เชิงปประสบการณ์ที่มีผู้ทำไว้ก่อนแล้ว ซึ่งความสำพันธ์ที่มีอยู่นั้นส่วนใหญ่จะค่อนข้างหยาบ โดยเฉพาะความสำพันธ์ที่สร้างขึ้นโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือทดสอบรุ่นเก่าที่แตกต่างไปจากเครื่องมือทดสอบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือถ้าได้ค่า SPT เท่ากับ 20 ครั้งต่อฟุต เมื่อต้องการแปลงค่าไปเป็น unconfined compression test จะมีค่าได้ตั้งแต่ 15 ตันต่อตารางเมตร ไปจนถึง 40 ตันต่อตารางเมตร ซึ่งผู้สร้างความสำพันธ์ได้แนะให้ใช้เท่ากับ 20 ตันต่อตารางเมตร จะเห็นได้ว่าค่าที่แนะนำนั้นผิดไปจากที่เป็นไปได้มากทีเดียว ความไม่แน่นอนอีกประการหนึ่งได้แก่ความไม่แน่นอนของข้อมูลการทดสอบ SPT เองโดยตัวอย่างของการทดสอบ SPT ในบริเวณเดียวกันที่มีชั้นดินค่อนข้างสม่ำเสมอให้ผลที่กระจัดกระจายมาก ดังรูปที่ 1  ดังนั้นในการใช้ค่า SPT ในการออกแบบนั้นจะต้องระลึกไว้เสมอว่าค่าที่ได้นั้นเป็นเพียงค่าดัชนีเท่านั้น รูปที่ 1 ผลการทดสอบ Standard penetration test ในชั้นดินกรุงเทพที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ ความสำพันธ์ระหว่าง SPT, N-Value กับพารามิเตอร์ของดิน      ได้มีการนำเอาค่า SPT -N […]

การทดสอบภาคสนามด้วยวิธี Standard Penetration Test (SPT)

การทดสอบในสนามด้วยวิธี Standard Penetration Test (SPT)           การทดสอบด้วยวิธีนี้ได้พัฒนาขึ้นมาราวปี ค.ศ. 1927 ซึ่งในปัจจุบันเป็นวิธีทดสอบที่นิยมใช้กันมากที่สุดและเป็นการทดสอบที่ประหยัดที่สุดที่จะได้ข้อมูลชั้นดินมาใช้ในการออกแบบ โดย Bowles (Bowles 1996) ประมาณไว้ว่า 85 – 90 เปอร์เซ็นต์ของการออกแบบฐานรากปกติในอเมริการเหนือและอเมริการใต้ใช้ข้อมูล SPT ในการออกแบบ การทดสอบจะอ้างอิงมาตรฐาน ASTM D 1586 โดยมีขั้นตอนโดยสังเขปดังนี้             ตอกกระบอกแบบผ่าซีกแบบมาตรฐาน ซึ่งมีขนาดดังรูปที่ 1 โดยให้ปลายกระบอกวางอยู่พอดีกับระดับก้นหลุมเจาะ โดยการตอกจะใช้ตุ้มตอกที่มีน้ำหนัก 140 ปอนด์ (63.5 กิโลกรัม) ในการตอกแต่ละครั้งจะยกตุ้มสูง 30 นิ้ว (762 มิลลิเมตร) ตกอย่างอิสระ ดังรูปที่ 2             ในการตอกจะตอกให้กระบอกจมลงในดินเป็นระยะ 18 นิ้ว โดยแบ่งระยะของกาตอกเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 6 นิ้ว ค่า […]

วิธีการสำรวจดินเพื่อใช้ในการออกแบบฐานราก

ในการสำรวจดินเพื่อการออกแบบฐานรากนั้นสามารถกระทำได้ทั้งการเก็บตัวอย่างขึ้นมาทดสอบในห้องปฏิบัติการ และการทดสอบในสนาม ซึ่งรูปแบบการเจาะสำรวจดินแสดงดังรูปที่ 1 ข้อแตกต่างของการทดสอบทั้งสองวิธีนี้คือ วิธีการเก็บตัวอย่างจะต้องเจาะหรือขุดจนถึงระดับที่ต้องการเพื่อเก็บตัวอย่างขึ้นมา ส่วนการทดสอบในสนามนั้นไม่ต้องเก็บตัวอย่างขึ้นมาทดสอบ สำหรับรายละเอียดจะกล่าวในหัวข้อต่อไป

ตำแหน่งของหลุมเจาะและความลึกของหลุม

ในการเลือกตำแหน่งของหลุมเจาะ ถ้าชั้นดินไม่สม่ำเสมอนักอาจต้องทำการเจาะสำรวจให้ใกล้เคียงกับตำแหน่งของฐานรากมากที่สุด ถ้าในขณะที่จะทำการเจาะสำรวจยังไม่มีการวางตำแหน่งโครงสร้าง ตำแหน่งของหลุมเจาะควรจะครอบคลุมบริเวณทั้งหมด จำนวนหลุมเจาะที่จะต้องเจาะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่นความสม่ำเสมอของชั้นดิน ถ้าชั้นดินสม่ำเสมอการเจาะหลุมเจาะเพียงไม่กี่หลุมก็อาจเพียงพอแล้ว แต่ถ้าชั้นดินไม่มีความสม่ำเสมออาจจะต้องเจาะหลุมเจาะมากขึ้น ปัจจัยอีกประการหนึ่งก็คือ ค่าใช้จ่ายในการเจาะเมื่อเปรีบยเทียบกับมูลค่าของโครงการ โครงการมูลค่าไม่สูงมากนัก ถ้าทำการเจาะสำรวจและทดสอบปริมาณน้อยแต่ใช้ Factor safety สูงขึ้นก็อาจประหยัดกว่า แต่ถ้าเป็นโครงการที่มีมูลค่าโครงการสูงการเจาะสำรวจและทดสอบมากขึ้นจะทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ราคาของฐานรากลดลงอย่างมาก สำหรับโครงการทั่วๆ ไปในชั้นดินที่ไม่ซับซ้อนและพอจะทราบข้อมูลชั้นดินมาบ้างจะเจาะหลุมเจาะประมาณ 2 หลุม ถ้าเป็นไปได้ควรจะเจาะ 3 หลุม เพื่อแสดงรูปตัดชั้นดินได้ทั้งสองแนว

วัตถุประสงค์ของการเจาะสำรวจดิน

ในงานวิศวกรรมปฐพีสิ่งที่จำเป็นประการหนึ่งก็คือการเจาะสำรวจดิน วัตถุประสงค์ในการเจาะสำรวจดินนั้นเพื่อใช้เป็นข้อมูล เพื่อใช้เลือกชนิดของฐานราก เพื่อใช้หากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของฐานรากที่เลือกใช้ เพื่อประมาณค่าการทรุดตัวของฐานรากที่เลือกใช้ เพื่อหาค่าระดับน้ำใต้ดิน เพื่อหาแรงดันดินด้านข้างที่กระทำต่อกำแพง หรือ Abutment ใช้ช่วยเขียนข้อกำหนดในการก่อสร้างเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้หาชนิดของดินที่เหมาะสมในงานถม และหา Degree of compaction เพื่อประเมินค่าความปลอดภัยของโครงสร้างเดิม เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมในการแก้ไข ในกรณีที่โครงสร้างไม่มีความปลอดภัย หรืออาจมีปัญหาเนื่องจากการทรุดตัว

การสำรวจและทดสอบดินในงานวิศวกรรมฐานราก

มนุษย์รู้จักสำรวจดินเพื่อทำฐานรากของโครงสร้างมานานแล้ว ในอดีตมักจะใช้ลองโดยไม่มีมาตรฐานระบุอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น ในหนังสือที่เขียนโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2234 (ค.ศ. 1691) ได้อธิบายวิธีการสำรวจดินเพื่อใช้ก่อสร้างฐานรากไว้ดังนี้ “ให้ลองเจาะหลุมหลายๆ หลุมเพื่อหาชั้นดินที่เปลี่ยนแปลง และเพื่อที่จะให้แน่ใจว่าดินที่มีคุณภาพดีนี้ไม่ได้วางอยู่บนดินเหนียว ดินทราย หรือดินใดๆ ที่จะยุบตัวลงเมื่อมีแรงกดกระทำ ในกรณีที่เจาะหลุมเพื่อดูดินไม่ได้ ก็ให้ใช้ไม้ยาว 6 – 8 ฟุต เคาะพื้นดิน ถ้าเสียงนั้นแน่นและเบาแสดงว่าดินแน่น ดินจะมีกำลังต้านทานแรงกดได้ดี แต่ถ้าเสียงที่ได้ เป็นเสียงทึบดินจะมีกำลังต้านทานแรงกดไม่ดีจึงไม่ควรใช้วางฐานราก”

งานฐานรากสำหรับอาคารที่มีน้ำหนักบรรทุกสูงขึ้น

ความรู้ทางด้านวิศวกรรมฐานรากนั้นได้ถูกปรับปรุงอยูาเสมอ เนื่องจากความต้องการใช้พื้นที่ของมนุษย์เพิ่มขึ้น ในขณะที่พื้นที่มีอยู่อย่างจำกัด จากในอดีตที่ฐานรากมักเป็นฐานรากแผ่ หรือฐานรากที่เป็นเสาเข็มแบบที่ต้องใช้ลูกตุ้มตอกลงไปในดิน ได้ถูกพัฒนาจนมาเป็นเสาเข็มเจาะที่มีกำลังรับน้ำหนักบรรทุกสูงขึ้น เสาเข็มเจาะได้ถูกใช้เป็นฐานรากของโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าที่บางกรวยเมื่อปี พ.ศ. 2505 และต่อจากนั้นได้มีการนำวิธีการก่อสร้างเสาเข็มเจาะแบบต่างๆ มาใช้ก่อสร้างเสาเข็ม อาทิเช่นในปี พ.ศ. 2514 ได้มีการใช้เสาเข็มเจาะระบบเวียนกลับ (Reverse circulation) ในการก่อสร้างสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า และได้มีการนะระบบ Continuous flight auger มาใช้ก่อสร้างโรงแรมเพรสซิเดนท์ เป็นต้น

ปัญหาทางวิศวกรรมที่ต้องใช้ความรู้ทางปฐพีกลศาสตร์

ในการวิเคราะห์ออกแบบและก่อสร้างทางวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับดิน วิศวกรจำเป็นจะต้องมีความรู้และเข้าใจในปฐพีกลศาสตร์เป็นอย่างดี เนื่องจากดินเป็นวัสดุธรรมชาติที่แตกต่างจากวัสดุก่อสร้างชนิดอื่นๆ ที่สามารถสร้างขึ้นมาให้มีคุณสมบัติตามต้องการได้ อีกทั้งดินมีคุณสมบัติที่ขึ้นกับชนิดขององค์ประกอบ ขนาดคละ ปริมาณน้ำในดิน ประวิติของหน่วยแรงที่เคยเกิดขึ้นในเนื้อดิน เป็นต้น ในอดีตที่ผ่านมาจึงมักจะมีปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากวิศวกรไม่ได้ตระหนักถึงความจำเป็นของปฐพีกลศาสตร์ ตัวอย่างปัญหาที่มักจะพบได้แก่ การวิบัติของลาดดิน การวิบัติของกำแพงกันดิน การที่ฐานรากรับน้ำหนักบรรทุกต่ำกว่าที่ต้องการ การทรุดตัวของฐานรากที่ส่งผลต่อความชำรุดของอาคาร เป็นต้น ซึ่งเราอาจจะพบเห็นได้ตามสื่อต่างๆ หากการวิบัติมีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน

งานด้านวิศวกรรมฐานราก

ฐานรากนั้นจำเป็นสำหรับโครงสร้างทุกชนิดที่ได้รับอิทธิพลจากแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งงานทางด้านวิศวกรรมโยธาเกือบทั้งหมดจะเป็นงานที่เกี่ยวกับโครงสร้างที่มีน้ำหนักมาก วิศวกรจะออกแบบโครงสร้างให้มีการถ่ายน้ำหนักจากโครงสร้างลงสู่ฐานส่วนล่างสุดและถ่ายลงสู่ดิน วิศวกรจะต้องตรวจสอบว่าดินที่รอบรับโครงสร้างนั้นจะต้องไม่วิบัติ ซึ่งถ้าดินเกิดการวิบัติถึงแม้ว่าโครงสร้างจะถูกออกแบบมาอย่างดีเพียงไรก็ไม่มีประโยชน์ดังรูปที่ 1 และวิศวกรยังจะต้องตรวจสอบว่าดินที่รองรับโครงสร้างจะไม่เกิดการทรุดตัวมากจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อตัวโครงสร้างเอง

ประวัติศาสตร์งานฐานรากในประเทศไทย

อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลัก ไปมาผลักบ่อยเข้าเสายังไหว จงฟังหูไว้หูคอยดูไป เชื่อน้ำใจดีกว่าอย่าเชื่อยุ                                พระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าอิศรญาณ ในสมัยรัชกาลที่ 4      คนไทยนั้นได้รู้จักกับฐานรากกันมาเป็นเวลานานแล้ว และเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนไทยเป็นประจำ จนหม่อมเจ้าอิศรญาณในสมัยรัชกาลที่ 4 สามารถนำมาประพันธ์เป็นสุภาษิตได้ ดังนั้นผู้คนทั่วไปในยุคสมัยนั้นสามารถเข้าใจได้ไม่ยากว่า เสาหินที่ยาวแปดศอก (4 เมตร) นั้นถ้าถูกผลัก (มีแรงกระทำทางด้านข้าง) สลับด้านกันหลายๆ ครัง เสาจะเกิดการโยกคลอน (มีแรงด้านทานลดลง) และอีประการหนึ่งที่สามารถคาดเดาได้จากสุภาษิตนี้คือ ดินในบริเวณนั้นเป็นดินที่มีกำลังด้านทานต่อแรงกระทำต่ำ      สำหรับกรณีศึกษาของฐานรากของไทยในอดีตได้จากเอกสารของ (สันติ 2547) ซึ่งได้ศึกษาชนิดของฐานรากของโบราณสถานในประเทศไทย แบ่งเป็นช่วงได้ดังนี้

Scroll to top