Site icon บจก.ณรงค์ไมโครสปัน | ไมโครไพล์ | micropile แบบครบวงจร

เครื่องมือสำหรับงานก่อสร้าง

งานก่อสร้างอาคารนอกจากฝีมือของช่างผู้ที่ปฏิบัติงานก่อสร้างอาคารแล้วเครื่องมือก็เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน งานก่อสร้างอาคารมีช่างหลายสาขาประกอบกันอยู่ เช่น ช่างไม้แบบ ช่างไม้ โครงสร้าง ช่างปูน ช่างเหล็กเสริมคอนกรีต ช่างเชื่อมเหล็กโครงสร้างฯ จึงได้แบ่งเครื่องมือที่ใช้ในงาน ก่อสร้างอาคารเป็น 3 ประเภทดังนี้

  1. เครื่องมือประจำงานก่อสร้าง
    เป็นเครื่องมือที่มีขนาดใหญ่ มีราคาแพงหรือเป็นเครื่องมือที่ใช้ส่วนรวม มีการแตก หักชำรุดเสียหายง่าย ผู้รับจ้างต้องเป็นผู้จัดหาไว้ให้ช่าง และคนงานเบิกใช้ในงานก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายในส่วนของเครื่องมือนี้  ผู้รับจ้างจะต้องคิดเผื่อไว้ในแต่ละงานและสะสมเครื่องมือ  และทำการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือให้พร้อมใช้งานตลอด เครื่องมือประจำงานก่อสร้างที่ควรมีไว้ใช้ ควรมี ดังนี้
    • เครื่องสูบน้ำ
      ในงานก่อสร้างจำเป็นต้องมีเครื่องสูบน้ำไว้ใช้ เพื่อใช้ในการสูบน้ำมาใช้ ในการก่อสร้าง หรือสูบน้ำออกจากบริเวณที่ทำการก่อสร้าง กรณีที่ฝนตก หรือมีน้ำท่วมในบริเวณ ที่จะทำงาน เครื่องสูบน้ำมีหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมนำมาใช้กันมากเป็นเครื่องสูบน้ำแบบไดโวใช้ไฟฟ้า เป็นเครื่องสูบน้ำที่สามารถยกได้ด้วยคนเดียว มีขนาดกะทัดรัด เมื่อเสียบไฟฟ้าเครื่องจะเดินและสูบน้ำ ได้ ซึ่งมีขนาด 2- 3 นิ้ว แล้วแต่ขนาดของท่อ เครื่องที่ผลิตจากโรงงานจะป้องกันไฟฟ้ารั่วได้เป็น อย่างดี แต่เครื่องที่เสียแล้วนำไปซ่อม อาจจะใช้งานได้ไม่ดีเพราะอาจมีไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าลัดวงจรทำ ให้เสียชีวิตได้
    • เครื่องโม่ผสมคอนกรีต
      ในงานก่อสร้างทั่วไปจะต้องมีเครื่องโม่คอนกรีตไว้ใช้ในการ ผสมคอนกรีต ใช้ปูนซีเมนต์ 1 ถุง ( 50 กิโลกรัม) ผสมกับวัสดุมวลคละ จะเต็มโม่พอดี เครื่องโม่ จะหมุน เพื่อผสมส่วนผสมคอนกรีตให้เข้ากัน ใช้เวลาประมาณ 3-5 นาที เครื่องโม่ที่นิยมใช้กันอยู่มี 2 แบบ ด้วยกันคือ แบบที่ใช้เครื่องยนต์เป็นตัวขับเคลื่อนตัวโม่ กับแบบที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัว ขับเคลื่อนตัวโม่
    • เครื่องตัดไม้และซอยไม้
      เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การทำงานสะดวกและรวดเร็วช่วยใน การตัดไม้และซอยไม้แบบ  ช่างไม้แบบที่ใช้เครื่องมือตัดไม้และซอยไม้  ต้องใช้อย่างระมัดระวังเพราะอาจเกิดอันตรายจากใบเลื่อยของเครื่องได้ และควรถอดใบมาลับปรับแต่งให้คม เพื่อเป็นการบำรุงรักษาตัวเครื่องฯให้พร้อมใช้งาน
    • กบไฟฟ้า
      เป็นเครื่องมือไฟฟ้าที่ช่วยในการไสปรับหน้าไม้ให้ได้ขนาด หรือให้หน้าไม้มี ความเรียบ กบไฟฟ้าที่นิยมใช้ทั่วไปในงานก่อสร้างมี 2 ขนาดด้วยกัน คือ ขนาด 3 นิ้ว และขนาด 5 นิ้ว (เรียกตามความกว้างของหน้ากบไฟฟ้า) การใช้และบำรุงรักษาควรมีการถอดใบมาลับปรับแต่งใบให้คมอยู่เสมอ และควรศึกษาคู่มือการใช้ด้วย
    • สว่านไฟฟ้า
      เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเจาะรูวัสดุประเภทต่างๆ ตามขนาดที่ ต้องการ โดยการใช้ดอกสว่านเจาะของวัสดุแต่ละประเภท เช่นการเจาะไม้ ใช้ดอกสว่านแบบเจาะไม้เจาะเหล็กใช้ดอกสว่านเจาะเหล็ก และเจาะคอนกรีต ใช้ดอกสว่านเจาะคอนกรีตและใช้สว่านแบบกระแทกเพื่อช่วยให้การเจาะคอนกรีตได้ดี
    • ค้อนปอนด์
      เป็นค้อนที่มีขนาดใหญ่ หนัก 8 ปอนด์ มีด้ามยาวประมาณ 75-100 เซนติเมตร ใช้ประโยชน์ในการตอกหลักผัง ตอกหรือทุบแผ่นคอนกรีต หรือ ผนังคอนกรีตของอาคารเก่า หรือชิ้นงานที่ไม่ใช้แล้ว
    • รถขนล้อเดียวหรือสองล้อ
      งานก่อสร้างที่ต้องลำเลียงวัสดุ หรือลำเลียงคอนกรีตจากโม่ผสมไปยังตำแหน่งที่เทคอนกรีต จำเป็นต้องใช้รถล้อเดียวหรือสองล้อไว้ใช้เพื่อเป็นการทุนแรงและประหยัดเวลาในการทำงาน
    • จอบ
      สำหรับงานก่อสร้างจอบที่มีใช้อยู่มีหลายชนิดคือ จอบขุดดิน จอบเกลี่ยดินจอบโกยทราย จอบเกลี่ยหรือโกยคอนกรีต ลักษณะของจอบขุดดินปลายใบของจอบจะโค้งเล็กน้อย ถ้าเป็นจอบงานคอนกรีตปลายจอบจะตรงหรือมนที่บริเวณมุมของใบจอบ ทำให้สามารถโกยคอนกรีตได้สะดวก แต่ถ้าจะโกยหินควรใช้คาด 4 ฟันโกยแทนเพราะจะไม่ทำให้หนักแรงในการโกยหิน
    • พลั่ว
      ที่ใช้ในงานก่อสร้างมีหลายแบบด้วยกันคือแบบปลายมน และแบบปลายเหลี่ยม หรือปลายมน มีหน้ากว้างประมาณ 30 ซม.ใช้ตักทราย ตักคอนกรีตที่ผสมแล้ว ส่วนพลั่วปลายมน สามารถนำไปใช้ตักดินอ่อนๆได้ พลั่วกาบกล้วย ใช้ในการ ขุดดินถ้าเป็นดินอ่อนก็ใช้พลั่วแบบหน้ากว้าง แต่ถ้าเป็นดินแข็งจะใช้แบบหน้าแคบ แต่เดิมบางทีเรียกว่า เสียม พลั่วหางเหยี่ยว ใช้ขุดดินเสา หรือเสาไฟฟ้า โดยการกระทุ้งใบพลั่วลงดินตรงบริเวณตำแหน่งของเสาที่กำหนด ใบพลั่วทั้งสองจะคีบ ดินขึ้นจากหลุมในการบังคับในส่วนของด้ามเป็นการขุดหลุมลึก ๆ ที่คนลงไปเก็บดินขึ้นไม่ได้
    • ชะแลง
      มีลักษณะเป็นท่อนเหล็กยาว มีความยาวตั้งแต่ 50-150 ซม.ใช้เหล็กเส้น กลม หรือเหล็กข้ออ้อยทำก็ได้ โดยมีปลายข้างหนึ่งแบน ปลายอีกข้างคล้ายหงอนค้อน ใช้ในการ ถอนตะปูได้ เป็นเครื่องมือที่จะต้องจัดหาไว้ เพราะต้องใช้งานมากมาย เช่น การรื้อไม้แบบถอนตะปู ขุดหลุมในดินแข็งหรือมีก้อนหินขวางอยู่
    • รอก
      เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการผ่อนแรงขนย้ายสิ่งของ วัสดุ อุปกรณ์ก่อสร้าง ใน แนวดิ่ง เช่น ใช้ยกอิฐแดง ปูนก่อ ปูนฉาบ และยกไม้แบบจากชั้น1ไปยังชั้น 2 ได้โดยใช้แรงงานคน
  2. เครื่องมือสิ้นเปลือง
    เป็นเครื่องมือที่มีลักษณะที่เสียหาย แตกหักพังง่าย และสูญหายง่าย สำหรับเครื่องมือชนิดนี้จะต้องจัดหาให้เพียงพอกับงานทำงานของคนงานและช่าง หรืออาจจะต้อง ทำการซ่อมแซมให้ใช้งานได้ในบางครั้ง เช่น
    • บุ้งกี๋
      ลักษณะเดิมเป็นหวายสานยกขอบสามด้านมีหูสานด้านข้าง 2 หู เอาไว้ ใช้มือจับยก แต่ปัจจุบันใช้พลาสติกเป็นวัสดุในการทำบุ้งกี๋ นำมาใช้ในการขนย้ายดินและวัสดุ หิน อิฐ ทราย ที่ใช้แรงงานของคนในการขนย้าย
    • ถังปูน
      ใช้ในงานปูนใส่ปูนก่อ ปูนฉาบ หรือใส่น้ำไว้ใช้ในงานก่ออิฐ ฉาบปูนงาน ผสมและเทคอนกรีต
    • ถังน้ำมัน 200 ลิตร
      มีไว้เพื่อเก็บน้ำใช้ในงานก่อสร้าง เช่นในงานก่ออิฐ ฉาบปูน งาน ผสมคอนกรีต และไว้ใช้ในห้องน้ำ ห้องส้วมในบริเวณงานก่อสร้าง
    • สายยางพลาสติก
      ขนาด 6 หุนหรือ 1 นิ้ว ยาวประมาณ 20-30 เมตร เพื่อใช้ต่อน้ำประปามาใส่ในถังน้ำเก็บไว้ใช้ ในงานก่อสร้างใช้น้ำบ่มคอนกรีต และใช้ในอุปโภค บริโภค
    • เชือกมะนิลา
      ใช้ประกอบกับรอกในการขนย้ายวัสดุหรือมัดวัสดุอุปกรณ์ เมื่อใช้เสร็จแล้วควรจะม้วนและเก็บไว้ในที่ร่มใกล้ๆ กับรอก
    • เชือกเอ็น
      ไว้ใช้ในการขึงทำแนว ทำเส้นระดับ และแนวดิ่ง ถือเป็นวัสดุที่ใช้สิ้นเปลืองมาก เพราะช่างและคนงานมักจะตัดใช้เฉพาะในส่วนแล้วไม่ค่อยเก็บมาคืน
    • สายไฟฟ้าและอุปกรณ์
      สำหรับใช้ในการเดินระบบไฟฟ้าชั่วคราวในบริเวณงาน ก่อสร้าง เช่น ไฟฟ้าแสงสว่างหรือไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องจักรกลงานก่อสร้างและเครื่องใช้อำนวยความสะดวก ในสำนักงานหรือบ้านพักคนงานเป็นต้น
  3. เครื่องมือประจำตัวช่าง
    เป็นเครื่องมือชนิดที่มีไว้ประจำตัวช่าง ตามปกติช่างแต่ละคน จัดเตรียมและหามาเอง ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญขั้นพื้นฐานเบื้องต้นที่ช่างทุกคนควรต้องมีไว้ ใช้ประจำตัวของช่างแต่ละประเภท ดังนี้
    • ช่างไม้
      เป็นช่างที่งานส่วนใหญ่เกี่ยวกับงานไม้ ทั้งงานช่างไม้แบบ ช่างไม้โครงสร้าง ช่างไม้เครื่องเรือน ควรมีเครื่องมือประจำตัวคือ ค้อนหงอน ตลับเมตรยาว 2.00-5.00 เมตร ดินสอเขียนไม้ ฉาก เลื่อยลันดา สิ่ว กบ สว่าน บักเต้า แม่แรงอัดไม้ กระเป๋าคาดเอวสำหรับใส่ตะปู
    • ช่างปูน
      เป็นช่างที่ทำงานเกี่ยวกับงานปูนเช่น งานก่ออิฐ งานฉาบปูน งานเทคอนกรีต ควรมีเครื่องมือประจำตัวคือ ค้อนหงอน ตลับเมตรยาว 2.00-5.00 เมตร ดินสอเขียนไม้ เกรียงก่อ อิฐ เกรียงฉาบปูน กระบะถือปูน แปรงสลัดน้ำ ไม้สามเหลี่ยม กระป๋องปูน พลั่ว จอบ สกัด บรรทัดระดับ ค้อนปอนด์ รถเข็น ลูกดิ่งงานปูน สายยางน้ำ สว่านคอนกรีต
    • ช่างเหล็ก
      เป็นช่างที่ต้องทำงานเกี่ยวกับงานเหล็กเสริมคอนกรีต และงานเหล็ก โครงสร้าง โครงหลังคาเหล็ก ควรมีเครื่องมือประจำตัว คือ เครื่องตัดเหล็ก กรรไกรตัดเหล็ก เครื่อง เชื่อม สว่านเจาะเหล็ก สว่านเจาะคอนกรีต ค้อน ตลับเมตร(2.00 – 5.00 เมตร)ประแจตัดเหล็ก คีมผูก เหล็ก ปั๊มลม กาพ่นสี เครื่องขัดหิน
เครื่องมือสำหรับงานก่อสร้าง
Exit mobile version