รวมบทความ เกี่ยวกับ ความรู้เรื่องงานก่อสร้าง
ความลึกของการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ (micropile) ที่ไม่ทำให้บ้านทรุด
ความลึกของการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ (micropile) ที่ไม่ทำให้บ้านทรุด เสาเข็มเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างบ้าน ซึ่งปัจจุบันเสาเข็มไมโครไพล์กำลังเป็นที่นิยมใช้งาน ทว่าการสร้างบ้านด้วยเสาเข็มประเภทนี้ต้องมีการตอกด้วยความลึกที่เหมาะสม ไม่ทำให้ตัวเสาร้าว หรือเกิดปัญหาบ้านทรุดได้ แล้วความลึกของเสาควรต้องอยู่ที่เท่าไหร่ สิ่งสำคัญคือการศึกษาข้อมูลสร้างความเข้าใจให้ตัวเองอย่างลึกซึ้ง เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักได้อย่างไร? โดยทั่วไปแล้วเสาเข็มสามารถรับน้ำหนักที่มากดทับได้จากแรงกระทำหลัก ๆ มีอยู่ 2 ชนิด คือ แรงต้านที่ปลายเสาเข็ม หรือ End Bearing ที่จะเกิดขึ้นอยู่ส่วนปลายเข็ม ซึ่งแรงที่เกิดขึ้นมาจากพื้นดินที่ช่วยรองรับส่วนปลาย ทั้งนี้ แรงจะมีน้ำหนักมากหรือน้อย จะขึ้นอยู่กับประเภทของดินที่มีแตกต่างกัน แรงเสียดทานที่ผิวของเสาเข็มได้รับ หรือ Skin Friction ที่จะเกิดแรงเสียดทานระหว่างผิวของเสาเข็มไมโครไพล์ และดินที่อยู่รอบ ๆ โดยที่ขึ้นอยู่กับผิวดินอีกเช่นกันว่าจะทำให้เกิดแรงขึ้นมามากหรือน้อย รวมถึงลักษณะของเสาแต่ละประเภทด้วย การตอกเสาเข็มไมโครไพล์ควรมีความลึกที่เท่าไหร่? โดยทั่วไปแล้วการสร้างบ้านจะต้องขึ้นอยู่กับเสาเข็มที่มีความสามารถในการรับน้ำหนักที่แตกต่าง ซึ่งควรต้องมีการตอกที่ลึกจนถึงชั้นดินแข็งเฉลี่ยแล้วประมาณ 21 เมตร เสาเข็มไมโครไพล์สามารถกดลงได้ลึกกว่า 20 เมตร หรือสูงสุดไปถึง 30 เมตร สามารถรับน้ำหนักได้มากกว่า 30 – 50 ตัน เพื่อให้เกิดแรงต้านทั้ง 2 แบบที่กล่าวไป ป้องกันการเกิดบ้านทรุดในอนาคตได้เป็นอย่างดี […]
วิธีเลือกผู้ให้บริการเสาเข็มไมโครไพล์ที่ตอบโจทย์
วิธีเลือกผู้ให้บริการเสาเข็มไมโครไพล์ที่ตอบโจทย์ เมื่อมีความสนใจอยากต่อเติม หรือสร้างบ้านด้วยเสาเข็มไมโครไพล์ สิ่งสำคัญที่สุดคือการเลือกผู้ใช้บริการที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เพื่อให้การติดตั้งดำเนินไปอย่างถูกต้องเหมาะสม รวมถึงไม่เป็นปัญหาในอนาคตที่อาจทำให้ปวดหัว ไม่สบายใจขึ้นมาได้ ดังนั้น จึงไม่อาจมองข้ามการศึกษาถึงวิธีเลือกผู้ให้บริการที่ตอบโจทย์อย่างละเอียด แนะนำการเลือกผู้ให้บริการเสาเข็มไมโครไพล์ที่ตอบโจทย์ ต้องมีความน่าเชื่อถือ อย่างแรกที่ต้องมองเลยจริง ๆ ก็คือเรื่องของความน่าเชื่อถือ ที่ผู้ให้บริการเสาเข็มไมโครไพล์ควรต้องมีอย่างที่สุด แนะนำว่าต้องเป็นแหล่งที่เปิดให้บริการมายาวนาน มีรายละเอียดการจัดตั้งบริษัทชัดเจน สามารถเดินทางไปหาได้เลย หรือมีประวัติการจัดตั้งบริษัทให้เราได้ศึกษาด้วยก็ได้ รวมถึงสินค้าได้รับมาตรฐานความปลอดภัยมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดูรีวิวจากผู้เคยใช้งานมาก่อน หรือหากใครที่ยังไม่มั่นใจ จะลองเลือกศึกษาจากรีวิวของผู้อื่นที่เคยใช้งานมาก่อนก็ได้ เพื่อดูว่าผลลัพธ์การติดตั้ง สินค้าต่าง ๆ เป็นอย่างไร เหมาะสมกับที่เราจะเรียกใช้บริการหรือไม่ โดยที่ผู้เคยใช้งานมาก่อนจะแสดงความคิดเห็นที่ตรงไหนตรงมา ซึ่งมีผลต่อผู้ให้บริการอย่างมาก ทั้งนี้ ผู้ให้บริการต้องเต็มใจเปิดเผยรีวิวโดยที่ไม่สามารถลบ หรือแก้ไขข้อความรีวิวด้วย สามารถให้คำแนะนำได้อย่างดี ผู้ให้บริการจำต้องมีความรู้ ความชำนาญ และสามารถให้คำแนะนำที่ดีกับลูกค้าได้ เพราะเสาเข็มไมโครไพล์ยังเป็นอุปกรณ์ก่อสร้างที่ใหม่สำหรับใครหลายคน เพื่อให้ลูกค้าได้ทำความเข้าใจเพิ่มเติม…
ทำความรู้จักเสาเข็มไมโครไพล์คืออะไร แล้วมีให้ใช้งานกี่ประเภท
ทำความรู้จักเสาเข็มไมโครไพล์คืออะไร แล้วมีให้ใช้งานกี่ประเภท เมื่อต้องเลือกใช้งานเสาเข็มเพื่อสร้าง หรือต่อเติมบ้าน ปัจจุบันเรามักจะได้ยินคำแนะนำเลือกใช้ “เสาเข็มไมโครไพล์” ซึ่งต้องยอมรับว่าบางคนอาจจะยังไม่เคยรู้จักมาก่อน ดังนั้น การได้ศึกษาทำความรู้จักว่าคือเสาเข็มอะไร แล้วมีให้ใช้งานกี่ประเภทจึงไม่อาจมองข้ามได้ เพื่อการพิจารณาเลือกใช้งานที่ตอบโจทย์ เสาเข็มไมโครไพล์คืออะไร? เสาเข็มไมโครไพล์ คือเสาเข็มที่ได้นวัตกรรมทางวิศวกรรมเข้าช่วย อาศัยความแข็งแรงในการสร้างรากฐานให้กับบ้าน ป้องกันการทรุดตัว ซึ่งจะมีการใช้ปั้นจั่นพิเศษตอกเสาเข็มนี้ลงไป สิ่งที่น่าสนใจคือการที่เราสามารถเลือกใช้งานได้กับทุกสภาพพื้นที่ ตอกชิดผนัง หรือกระจกได้ พื้นที่แคบเข้าไปได้ ไม่ทำให้เกิดปัญหา เสียงเบามาก ไม่จำเป็นต้องขนดินไปทิ้งเพราะดินกระจายออกมาน้อยมาก การผลิตเสาเข็มชนิดนี้จะใช้วิธีหล่อแบบพิเศษที่ทำให้เนื้อคอนกรีตหนาแน่น และสูงกว่าการหล่อแบบธรรมดา รับน้ำหนักได้มากกว่า 10 – 55 ตัน ขึ้นอยู่กับประเภทของเสาเข็มนี้ด้วย เสาเข็มไมโครไพล์มีให้ใช้งานกี่ประเภท? โดยทั่วไปแล้วเสาเข็มไมโครไพล์จะมีให้ใช้งานด้วยกันหลัก ๆ แล้ว 3 ประเภท ได้แก่ เสาเข็มรูปตัวไอ…
การออกแบบกำลังรับน้ำหนักของฐานรากแผ่และเสาเข็มจากการเจาะสำรวจและทดสอบดิน (โดยประมาณ)
การออกแบบกำลังรับน้ำหนักของฐานรากแผ่จากผลการเจาะสำรวจและทดสอบดิน (โดยประมาณ) สำหรับการออกแบบระบบฐานรากในเบื้องต้นโดยประมาณ (preliminary design) : F.S. = 3.0 โดยอาศัยผลการทดสอบที่ได้จากการทดสอบทั้งในสนามและห้องทดลอง สามารถทำได้ดังนี้ · สำหรับกรณีของดินเหนียว (F.S. = 2.5 – 3.0) กำลังรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของดิน (qall) = qu = 2c; ปอนด์ต่อตารางฟุต กำลังรับน้ำหนักบรรทุกประลัย (qult) = 1.25N; T/m2. · สำหรับกรณีของดินทราย (F.S. = 2.5 – 3.0) กำลังรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของดิน (qall)…
หลักการเบื้องต้นในการอ่านผลการเจาะสำรวจดิน
1. การพิจารณาค่าจากการทดสอบ Atterberg Limits ซึ่งการพิจารณาดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจทั้งในขั้นตอนของการออกแบบ และการควบคุมงานก่อสร้างในส่วนของระบบฐานราก เช่นจะใช้เสาเข็มระบบใด (เสาเข็มตอกหรือเสาเข็มเจาะ) ปลอกเหล็กกันดินพังควรจะฝังลึกเท่าไร จะต้องใช้ของเหลวช่วยป้องกันการพังของผนังหลุมเจาะหรือไม่ เหล่านี้เป็นต้น – หากดินมีค่า water content (v) เข้าใกล้ค่า LL. หรือมีค่ามากกว่า หมายถึงดินที่ระดับความลึกนั้นมีสภาพอ่อน มีกำลังรับแรงเฉือนได้ต่ำแต่จะมีค่าทรุดตัวสูง – หากดินมีค่า water content (v) เข้าใกล้ค่า PL. หมายถึงดินที่ระดับความลึกนั้นมีสภาพแข็ง มีกำลังรับแรงเฉือนได้สูงแต่จะมีค่าทรุดตัวน้อย – หากดินมีค่า Plasticity index (P.I. = LL.…