News

รวมบทความ เกี่ยวกับ ความรู้เรื่องงานก่อสร้าง

ชั้นดิน

การสำรวจและทดสอบดินในงานวิศวกรรมฐานราก

adminAug 26, 20211 min read

มนุษย์รู้จักสำรวจดินเพื่อทำฐานรากของโครงสร้างมานานแล้ว ในอดีตมักจะใช้ลองโดยไม่มีมาตรฐานระบุอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น ในหนังสือที่เขียนโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2234 (ค.ศ. 1691) ได้อธิบายวิธีการสำรวจดินเพื่อใช้ก่อสร้างฐานรากไว้ดังนี้ “ให้ลองเจาะหลุมหลายๆ หลุมเพื่อหาชั้นดินที่เปลี่ยนแปลง และเพื่อที่จะให้แน่ใจว่าดินที่มีคุณภาพดีนี้ไม่ได้วางอยู่บนดินเหนียว ดินทราย หรือดินใดๆ ที่จะยุบตัวลงเมื่อมีแรงกดกระทำ ในกรณีที่เจาะหลุมเพื่อดูดินไม่ได้ ก็ให้ใช้ไม้ยาว 6 – 8 ฟุต เคาะพื้นดิน ถ้าเสียงนั้นแน่นและเบาแสดงว่าดินแน่น ดินจะมีกำลังต้านทานแรงกดได้ดี แต่ถ้าเสียงที่ได้ เป็นเสียงทึบดินจะมีกำลังต้านทานแรงกดไม่ดีจึงไม่ควรใช้วางฐานราก”

โรงแรมเพรสซิเดนท์

งานฐานรากสำหรับอาคารที่มีน้ำหนักบรรทุกสูงขึ้น

adminAug 25, 20211 min read

ความรู้ทางด้านวิศวกรรมฐานรากนั้นได้ถูกปรับปรุงอยูาเสมอ เนื่องจากความต้องการใช้พื้นที่ของมนุษย์เพิ่มขึ้น ในขณะที่พื้นที่มีอยู่อย่างจำกัด จากในอดีตที่ฐานรากมักเป็นฐานรากแผ่ หรือฐานรากที่เป็นเสาเข็มแบบที่ต้องใช้ลูกตุ้มตอกลงไปในดิน ได้ถูกพัฒนาจนมาเป็นเสาเข็มเจาะที่มีกำลังรับน้ำหนักบรรทุกสูงขึ้น เสาเข็มเจาะได้ถูกใช้เป็นฐานรากของโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าที่บางกรวยเมื่อปี พ.ศ. 2505 และต่อจากนั้นได้มีการนำวิธีการก่อสร้างเสาเข็มเจาะแบบต่างๆ มาใช้ก่อสร้างเสาเข็ม อาทิเช่นในปี พ.ศ. 2514 ได้มีการใช้เสาเข็มเจาะระบบเวียนกลับ (Reverse circulation) ในการก่อสร้างสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า และได้มีการนะระบบ Continuous flight auger มาใช้ก่อสร้างโรงแรมเพรสซิเดนท์ เป็นต้น

ไมโครไพล์ฐานราก

ปัญหาทางวิศวกรรมที่ต้องใช้ความรู้ทางปฐพีกลศาสตร์

adminAug 25, 20211 min read

ในการวิเคราะห์ออกแบบและก่อสร้างทางวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับดิน วิศวกรจำเป็นจะต้องมีความรู้และเข้าใจในปฐพีกลศาสตร์เป็นอย่างดี เนื่องจากดินเป็นวัสดุธรรมชาติที่แตกต่างจากวัสดุก่อสร้างชนิดอื่นๆ ที่สามารถสร้างขึ้นมาให้มีคุณสมบัติตามต้องการได้ อีกทั้งดินมีคุณสมบัติที่ขึ้นกับชนิดขององค์ประกอบ ขนาดคละ ปริมาณน้ำในดิน ประวิติของหน่วยแรงที่เคยเกิดขึ้นในเนื้อดิน เป็นต้น ในอดีตที่ผ่านมาจึงมักจะมีปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากวิศวกรไม่ได้ตระหนักถึงความจำเป็นของปฐพีกลศาสตร์ ตัวอย่างปัญหาที่มักจะพบได้แก่ การวิบัติของลาดดิน การวิบัติของกำแพงกันดิน การที่ฐานรากรับน้ำหนักบรรทุกต่ำกว่าที่ต้องการ การทรุดตัวของฐานรากที่ส่งผลต่อความชำรุดของอาคาร เป็นต้น ซึ่งเราอาจจะพบเห็นได้ตามสื่อต่างๆ หากการวิบัติมีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน

ฐานรากทรุด

งานด้านวิศวกรรมฐานราก

adminAug 25, 20211 min read

ฐานรากนั้นจำเป็นสำหรับโครงสร้างทุกชนิดที่ได้รับอิทธิพลจากแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งงานทางด้านวิศวกรรมโยธาเกือบทั้งหมดจะเป็นงานที่เกี่ยวกับโครงสร้างที่มีน้ำหนักมาก วิศวกรจะออกแบบโครงสร้างให้มีการถ่ายน้ำหนักจากโครงสร้างลงสู่ฐานส่วนล่างสุดและถ่ายลงสู่ดิน วิศวกรจะต้องตรวจสอบว่าดินที่รอบรับโครงสร้างนั้นจะต้องไม่วิบัติ ซึ่งถ้าดินเกิดการวิบัติถึงแม้ว่าโครงสร้างจะถูกออกแบบมาอย่างดีเพียงไรก็ไม่มีประโยชน์ดังรูปที่ 1 และวิศวกรยังจะต้องตรวจสอบว่าดินที่รองรับโครงสร้างจะไม่เกิดการทรุดตัวมากจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อตัวโครงสร้างเอง

พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร

ประวัติศาสตร์งานฐานรากในประเทศไทย

adminAug 25, 20211 min read

อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลัก ไปมาผลักบ่อยเข้าเสายังไหว จงฟังหูไว้หูคอยดูไป เชื่อน้ำใจดีกว่าอย่าเชื่อยุ                                พระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าอิศรญาณ ในสมัยรัชกาลที่ 4      คนไทยนั้นได้รู้จักกับฐานรากกันมาเป็นเวลานานแล้ว และเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนไทยเป็นประจำ จนหม่อมเจ้าอิศรญาณในสมัยรัชกาลที่ 4 สามารถนำมาประพันธ์เป็นสุภาษิตได้ ดังนั้นผู้คนทั่วไปในยุคสมัยนั้นสามารถเข้าใจได้ไม่ยากว่า เสาหินที่ยาวแปดศอก (4 เมตร) นั้นถ้าถูกผลัก (มีแรงกระทำทางด้านข้าง) สลับด้านกันหลายๆ ครัง เสาจะเกิดการโยกคลอน (มีแรงด้านทานลดลง) และอีประการหนึ่งที่สามารถคาดเดาได้จากสุภาษิตนี้คือ…

Scroll to top