ค่า SPT -N เป็นแค่เพียงดัชนีชี้วัดพฤติกรรมของดินตอบสนองต่อการตอกเท่านั้น ไม่ได้เป็นการวัดคุณสมบัติทางกลของดินโดยตรง ดังนั้นการจะนำไปใช้วิเคราะห์ทางด้านวิศวกรรมปฐพี จำเป็นจะต้องเปลี่ยนเป็นข้อมูลที่สามารถใช้ได้เสียก่อน โดยอาศัยความสำพันธ์เชิงปประสบการณ์ที่มีผู้ทำไว้ก่อนแล้ว ซึ่งความสำพันธ์ที่มีอยู่นั้นส่วนใหญ่จะค่อนข้างหยาบ โดยเฉพาะความสำพันธ์ที่สร้างขึ้นโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือทดสอบรุ่นเก่าที่แตกต่างไปจากเครื่องมือทดสอบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือถ้าได้ค่า SPT เท่ากับ 20 ครั้งต่อฟุต เมื่อต้องการแปลงค่าไปเป็น unconfined compression test จะมีค่าได้ตั้งแต่ 15 ตันต่อตารางเมตร ไปจนถึง 40 ตันต่อตารางเมตร ซึ่งผู้สร้างความสำพันธ์ได้แนะให้ใช้เท่ากับ 20 ตันต่อตารางเมตร จะเห็นได้ว่าค่าที่แนะนำนั้นผิดไปจากที่เป็นไปได้มากทีเดียว ความไม่แน่นอนอีกประการหนึ่งได้แก่ความไม่แน่นอนของข้อมูลการทดสอบ SPT เองโดยตัวอย่างของการทดสอบ SPT ในบริเวณเดียวกันที่มีชั้นดินค่อนข้างสม่ำเสมอให้ผลที่กระจัดกระจายมาก ดังรูปที่ 1 ดังนั้นในการใช้ค่า SPT ในการออกแบบนั้นจะต้องระลึกไว้เสมอว่าค่าที่ได้นั้นเป็นเพียงค่าดัชนีเท่านั้น
ความสำพันธ์ระหว่าง SPT, N-Value กับพารามิเตอร์ของดิน
ได้มีการนำเอาค่า SPT -N value ไปสร้างความสำพันธ์กับคุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินที่ใช้ในการออกแบบ ดังแสดงในตารางที่ 1
ประมาณค่า Undrained shear strength ของดินเหนียวจากค่า SPT, N
(Pitupakorn, 1982) ได้เสนอการประมาณค่า Undrained shear strength นี้จำได้มาจากความสำพันธ์เชิงประสบการณ์ที่ได้จากการทดสอบตัวอย่างดินในสนามและในห้องปฏิบัติการเป็นจำนวนมากแล้วจึงนำมาสร้างความสำพันธ์ ซึ่งความสำพันธ์จะแบ่งตามค่าพลาสติซิตี้ของดิน โดยถ้าเป็นดินเหนียวที่มีค่าพลาสติซิตี้สูงจะใช้รูปที่ 2 ส่วนดินเหนียวที่มีค่าพลาสติซิตี้ต่ำจะใช้รูปที่ 3